Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/986
Title: Developmenting a Program to Strengthen Collective Leadership of Thai Primary School Administrators under Jurisdiction Office of the Basic Education Commission
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Kantathee Nuangsri
กันตธี เนื่องศรี
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
ภาวะผู้นำพลังร่วม
ภาวะผู้นำผู้บริหารโรงเรียน
Program Development
Collective Leadership
Leadership of School Administrators
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study was aimed to (1) to study characteristics and indexes of collective leaderships of Thai primary school administrators under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission, (2) to study current stages and desirable conditions of collective leaderships of Thai primary school administrators under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission, (3) to develop the program to be employed in establishing the collective leadership for Thai primary school administrators under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission, and 4) to analyse the results of the developed program. The author reviewed concepts and theories concerning collective leadership, and analyzed current conditions and desirable conditions for enhancing collective leadership of 758 participants, including primary school administrators and teacher representatives under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission, using a multi-stage sampling technique, were voluntarily involved. The developed program was then applied to those targeted participants – 10 Thai primary school administrators from the Office of Maha Sarakham Primary Education Service Area 1, using a purposive sampling technique. The test, evaluation form, questionnaire and interview were employed in collecting data. Besides, descriptive statistical procedures, such as average, percentage, standard deviation (S.D.), Cronbach's alpha coefficient (α), Pearson product moment correlation coefficient, modified priority needs index (PNImodified) and independent t-test. The findings were: 1. The evaluation of the characteristics and indexes of the collective leadership of Thai primary school administrators suggests that there were 4 key characteristics, 17 sub-characteristics and 58 sub elements as: 1) shared vision, 2) transformation, 3) shared consensus, 4) team building, and 5) leader exchange. 2. The analyses of the current states and desirable conditions of the collective leadership of Thai primary school administrators further suggest that the current state of the collective leadership was considered “high” while the desirable conditions were “really high”. Ranging from the most to the least, the fact that the leader exchange, shared vision, transformation, shared decision-making, and team building respectively.  3. The collective leadership building program of Thai primary school administrators under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission was developed and validated by 9 experts. The development of the program was built upon the semi-structured interview. The program comprises of these proceeding sections. Section 1 : Introduction, addresses the rationales, objectives, goals, principles and other instructions of the components of the program. Section 2 : Details of Collective Leadership Building Program, concerns five modules – 1) shared vision, 2) transformation, 3) shared decision-making, 4) team building, and 5) leader exchange. Section 3 : Instruments used in evaluating effectiveness of the program. And section 4 : Successful conditions in applying the program into practice 4. The development of the collective leadership building program for Thai primary school administrators under the jurisdiction Office of the Basic Education Commission yields the results after the application of the program as follows : 1) The post-test score collective leadership test of Thai primary school administrators was higher than that of pre-test, meaning that there was statistically significant at .05, and administrators’ scores were above 70 percent. 2) The result of the post program scores collective leadership questionnaire was higher than pre-test also statistically significant .05. 3) The satisfaction evident in behavior evaluation, results evaluation, learning evaluation, and reaction evaluation, completed by the chair Office of the Basic Education Commission, primary school administrators of each participant, and teacher representatives from the Office of Basic Education Commission who worked under the authority of the administrator participants, was “really satisfied.” And 4) The satisfaction of the school administrators toward the collective leadership building program of Thai primary education administrators was considered “really satisfied.”
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำพลังร่วม การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการในการเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและผู้แทนครูผู้สอนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 758 คน และนำโปรแกรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) และ Independent t-test           ผลการวิจัย พบว่า    1. การประเมินองค์ประกอบคุณลักษณะและตัวชี้วัดภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า มี 5 องค์ประกอบ และ 17 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) การสร้างการเปลี่ยนแปลง 3) การตัดสินใจร่วม 4) การสร้างทีมงาน และ 5) การหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ 2. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้านการตัดสินใจร่วม และด้านการสร้างทีมงาน ตามลำดับ 3. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นและทำการยืนยันโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้จากการนำผลการวิเคราะห์ยืนยันโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ 3.1 ส่วนที่ 1 บทนำ คือ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวคิด หลักการ และคำชี้แจงองค์ประกอบของโปรแกรม 3.2 ส่วนที่ 2 รายละเอียดโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ โมดูลที่ 1 การมีวิสัยทัศน์ร่วม โมดูลที่ 2 การสร้างการเปลี่ยนแปลง โมดูลที่ 3 การตัดสินใจร่วม โมดูลที่ 4 การสร้างทีม และโมดูล 5 การหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ 3.3 ส่วนที่ 3 เป็นเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม 3.4 ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้  4. ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ดังนี้ 1)  ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีคะแนนจากการทดสอบ โดยใช้แบบทดสอบหลังพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน 2) ผลการวัดระดับภาวะผู้นำพลังร่วม โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นระดับภาวะผู้นำพลังร่วม เปรียบเทียบหลังการพัฒนามีระดับภาวะผู้นำพลังร่วมสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินผู้เข้ารับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม ระดับพฤติกรรม (Behavior Evaluation) ระดับผลลัพธ์ (Results Evaluation) ระดับการเรียนรู้ (Learning Evaluation) และระดับปฏิกิริยา (Reaction Evaluation) โดย 1) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นเพื่อนร่วมงานของผู้เข้ารับการพัฒนา 3) กลุ่มผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/986
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010560001.pdf16.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.