Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/987
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNopparatana Moonsrikaewen
dc.contributorนพรัตน์ มูลศรีแก้วth
dc.contributor.advisorPacharawit Chansirisiraen
dc.contributor.advisorพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิรth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-09-05T09:26:28Z-
dc.date.available2021-09-05T09:26:28Z-
dc.date.issued11/5/2020
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/987-
dc.descriptionDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThis research was a research and development with the aim to 1) study the components and indicators of innovative leadership of the secondary school administrators under the Office Basic Education Commission 2) study the current and desirable condition of innovative Leadership of Secondary School Administrators under the Office of Basic Education Commission 3) study methods of enhancing innovative leadership of secondary school administrators 4) design an innovative leadership enhance program for secondary school administrators under the Office of Basic Education Commission and 5) study the results of implementing the innovative leadership program of the secondary school administrators under the Office of Basic Education Commission. Research was divided into 5 phases. Data collection group to confirm the suitability of components and indicators of innovative leadership, methods of enhancing innovative leadership and innovative leadership enhance program consisting of 7 experts. The population was administrators and teachers of secondary schools under the Office of Basic Education Commission, 2,358 schools. The sample group used in collecting data was the administrators and teachers of secondary schools under the Office of Basic Education Commission, 660 people were obtained by means of sampling by using the Multi-stage random sampling technique. The sample group that used the program was secondary school administrators under the Office of Secondary Educational Service Area 27, 8 people were obtained by purposive sampling who voluntarily participated in development. The tools were used for data collection included questionnaires and group discussion records. The statistics was used in the data analysis as follows average, percentage, standard deviation, Alpha coefficient of Cronbach, Modified Priority Needs Index (PNImodified) and Independent t-test techniques. The research results were as follows: 1. The components and indicators of innovative leadership of secondary school administrators were 4 components, 20 indicators which were 1) Courage 2) Creativity 3) Passion and 4) Building and steering team. The results confirm the suitability of the components and indicators of innovative leadership of the secondary school administrators with experts found to be suitable for every components. 2. Current conditions of innovative leadership of secondary school administrators overall was at a medium level. The desirable conditions of the innovative leadership of the secondary school administrators were in the highest level. The sequence of needs to enhance the innovative leadership of the secondary school administrators. In descending order, including creativity, building and steering team, courage and passion. 3. The results of the study of the methods of enhancing the innovative leadership of the secondary school administrators consist of 3 methods which were 1) training 2) on the job learning and 3) group discussion. 4. The results of the design program for enhancing innovative leadership of secondary school administrators were as follows: The components of the program to enhance innovative leadership of the secondary school administrators consist of 6 components which were 1) program principles 2) program objectives 3) program target 4) program development content 5) development process and 6) evaluation of the program. Evaluation results by experts found that the program, program manual and innovative leadership development toolkits activity set has a suitable level at a high level. 5. The study of the results of the implementation of the innovative leadership program of the secondary school administrators as follows: 5.1 Assessment of the innovative leadership of the school administrators. The self-assessment of the respondents found that the school administrators had the level of innovative leadership before the overall development at a moderate level and after the overall development at a high level. 5.2 Comparative results of the innovative leadership level of the secondary school administrators. In the case of the self-assessment before and after the development, it was found that the post-development was significantly higher than before the development at the .05 level. 5.3 Post-development follow up by evaluating the level of innovative leadership of secondary school administrators. Evaluating 4 levels by 2 groups of assessors found that all levels were at a high level.  5.4 The result of satisfaction assessment with the program to enhance innovative leadership of secondary school administrators found that the highest level. 5.5 Group discussion between development and post-development of participants can be used as a concept for development an innovation leadership of the secondary school administrators.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 5) ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยแบ่งระยะการวิจัยเป็น 5 ระยะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม วิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 660 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling Technique) กลุ่มตัวอย่างที่นำโปรแกรมไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 8 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบบันทึกการอภิปรายกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความกล้าหาญ 2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความปรารถนาอย่างแรงกล้า และ 4) การสร้างและขับเคลื่อนทีม ผลการยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมทุกองค์ประกอบ 2. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างและขับเคลื่อนทีม ความกล้าหาญ และความปรารถนาอย่างแรงกล้า 3. ผลการศึกษาวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ 1) การฝึกอบรม 2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง และ 3) การอภิปรายกลุ่ม 4. ผลการออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาพบว่า องค์ประกอบของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบ ทั้งหมด 6 ด้าน คือ 1) หลักการของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เป้าหมายของโปรแกรม 4) เนื้อหากิจกรรมการพัฒนาของโปรแกรม 5) กระบวนการพัฒนาของโปรแกรม และ 6) การประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม คู่มือการใช้โปรแกรม และชุดกิจกรรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 5. การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาไปใช้ พบว่า 5.1 ผลการประเมินระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้เข้ารับการพัฒนาประเมินตนเอง พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 5.2 ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กรณีผู้เข้ารับการพัฒนาประเมินตนเองก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนาสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.3 การติดตามผลหลังการพัฒนา โดยการประเมินระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ทำการประเมิน 4 ระดับ โดยกลุ่มผู้ประเมิน 2 กลุ่ม พบว่า โดยรวมทุกระดับอยู่ในระดับมาก 5.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5.5 ผลการอภิปรายกลุ่ม ระหว่างการพัฒนาและหลังการพัฒนา สามารถนำไปใช้เป็นแนวคิดในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาได้th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการพัฒนาth
dc.subjectโปรแกรมภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมth
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียนth
dc.subjectDevelopingen
dc.subjectProgram to Strengthen Innovative Leadershipen
dc.subjectSchool Administratorsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDeveloping a Program to Strengthen Innovative Leadership of Secondary School Administrators under the Office of Basic Education Commissionen
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010560002.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.