Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/990
Title: Developing a Program to Enhance Creative Thinking of Primary School Teachers under the Office of Basic Education Commission
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Utree Chueapratoom
อุตรี  เชื้อประทุม
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์
Program Development
Enhancing Creative Thinking
Creative Thinking
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed to develop the program to enhance creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission using research and development design divided in to 4 phases. Phase 1 was studying the elements and indicators of creative thinking for primary school teachers under the office of basic Education commission using investigating the elements and indicators of creative thinking for teachers by 7 experts.  Phase 2 was studying the current and desirable situations, studying the approaches of developing creative thinking of teachers under the office of basic Education commission. The sample was 384 teachers in schools under the office of basic Education commission. Phase 3 was developing the program to enhance creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission. The program and the handbook were evaluated in terms of suitability by 7 experts. Phase 4 was studying the results of the program implementation. The participants were 20 teachers in schools under Dech-Udom schools network.  The instruments used were interview questions, questionnaire, test and evaluation form. The statistics used were mean, percentage, standard deviation, modified priority needs index (PNImodified) and independent t-test. The results were shown as follows; 1. The results of elements and indicators of creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission evaluation yielded  that there were 4 elements and 18 indicators which shown as follow; 1) flexibility consisted of 5 indicators, 2) fluency consisted of 4 indicators, 3) elaboration comprised of 4 indicators, and 4) originality comprised of 4 indicators. 2. The results of currents situations of teachers’ creative thinking in schools under the office of basic Education commission pointed out that overall rated in more level. The desirable situations of teachers’ creative thinking in schools under the office of basic Education commission overall rated in the most level. The priority of needs showed as follows; originality, fluency, elaboration and flexibility respectively. 3. The results of evaluation the program to enhance creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission indicated that there were 5 components; 1) principle, 2) objectives, 3) contents consisted of 4 modules; flexibility, fluency, originality and elaboration, 4) activities; self-study learning, workshop, site-visiting and on the job training, 5) evaluation. The results of the evaluation rated in the most level. 4. The results of implementation the program to enhance creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission. Before training, the participants had knowledge rated in moderate level and after the training, the participants had knowledge rated in more level. And the teachers’ satisfaction the program to enhance creative thinking of primary school teachers under the office of basic Education commission pointed out that overall rated in the most level. 
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการตรวจสอบองค์ประกอบและตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนา ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 384 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายเดชอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่สมัครเข้าร่วมการพัฒนา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด คือ 1) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด 2) ความคิดคล่อง (Fluency) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด 3) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด และ 4) ความคิดริเริ่ม (Originality) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบัน ความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นได้ตามลำดับ ดังนี้ ด้านความคิดริเริ่ม รองลงมาคือ ด้านความคิดคล่อง ด้านความคิดละเอียดลออ และด้านความคิดยืดหยุ่น ตามลำดับ 3. โปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย Module 1 ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) Module 2 ความคิดคล่อง (Fluency) Module 3 ความริเริ่ม (Originality) และ Module 4 ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) 4) กิจกรรมการพัฒนา ได้แก่ (1) การศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Learning) (2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) (3) การศึกษานอกสถานที่ (Site-Visiting) และ (4) การฝึกปฏิบัติในงาน (On the Job Training) และ 5) การวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจของครูที่เข้ารับการพัฒนาที่มีต่อโปรแกรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/990
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010560014.pdf19.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.