Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/991
Title: The Development of Thai Language Curriculum to Enhance Creative Thinking for Primary School Students
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Authors: Pakkhapon Khamying
พคพร คำยิ่ง
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
นักเรียนชั้นประถมศึกษา
The Development
Enhance Creative Thinking
Thai Language Curriculum
Primary School Students
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study was the development of Thai language curriculum to enhance creative thinking for primary school students aimed 1) to investigate the primary information  related to results of learning management, currents situations and needs of school curriculum development, 2) to design Thai language curriculum to enhance creative thinking for primary school students and 3) to study the effects of implementation Thai language curriculum to enhance creative thinking for primary school students consisted of 2 parts as follows; 3.1) to compare creative thinking of primary school students before and after learning through Thai language curriculum to enhance creative thinking for primary school students, and 3.2) to compare creative thinking of primary school students between the control group who learned  through the traditional curriculum and the experimental group who learned through Thai language curriculum developed. There were 3 phases of the study consisted of studying the primary information, designing the curriculum and implementation the curriculum. The population of the study was 1,231 students who were studying in grade 5 during 2019 academic year of 78 classrooms and 71 schools under Wapi pathum Educational network of Mahasarakham primary Educational service area office 2. The sample was 30 students who were studying in grade 5 during 2019 academic year of Anuban Payakkaphumpisai School under Mahasarakham primary Educational service area office 2. The instruments used were interview questions, behavior observation and evaluation form. The instrument of curriculum evaluation was creative thinking test. Statistics used were mean, standard deviation, percentage, t-test (dependent samples) and t-test (independent samples). The results of the study were presented by each phase as follows; The results of phase 1 revealed that the vital problem of schools where there were not assured from the 2nd external quality assurance shown that most of school still had the fair results of the 4th standard which related to the ability of analysis thinking, synthesis thinking, critical thinking, creative thinking and considering thinking. Besides, there were 76 schools which was 33.77 out of 225 schools under Mahasarakham primary Educational service area office 2 where there was not  assured in the 4th standard. 2. There were approaches of solving the problem by analysis the policy and the results of practice. There was the determination of policy related to improvement of analysis thinking, synthesis thinking, critical thinking and creative thinking. There was the improvement of teachers by having the activity in order to have more teaching skills of analysis thinking, synthesis thinking, critical thinking, and creative thinking for students. There were the suggestions from the schools that there should be the school’s curriculum making which suitable for students and the school’s context. According to the interview of teachers, they understood the standard and the indicators of learning management. However, there was not the analysis and design Thai language curriculum. Hence, most of teaching styles were consisted of lecturing, reading aloud and doing exercises.  Group activity was also used sometimes. Since most of the exercises were the test, the results of students’ evaluation pointed out that most of students lacked of analysis thinking, synthesis thinking, critical thinking, and creative thinking. The results of phase 2 which was the development of Thai language curriculum to enhance creative thinking for primary school students shown that the principles of the curriculum consisted of 1) child –centered learning management, 2) determination of creative thinking developing in the contents of curriculum, 3) learning atmosphere which enable students to think and learn independently, 4) intrinsic and extrinsic motivation, 5) variety and authentic of evaluation. The purposes of the curriculum enable students to improve creative thinking in 2 dimensions; 1) knowledge and intelligence consisted of fluency, flexibility, originality and elaboration, 2) feeling, mind and attitude consisted of curiosity, taking risk, complexity and imagination. The curriculum contents comprised of 8 units lasted 80 hours. The results of phase 3 which was the implementation of the curriculum to enhance creative thinking for primary school students yielded that 1) students had higher scores after learning through the curriculum to enhance creative thinking for primary school students significantly at .05 level, 2) creative thinking of students who learned by using the curriculum to enhance creative thinking for primary school students was higher than creative thinking of students who learned through traditional curriculum significantly at .05 level.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2. เพื่อสร้างหลักสูตรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในประเด็นดังต่อไปนี้ 3.1 เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตร เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาก่อนและหลังเรียน 3.2 เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตร เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรปกติ ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ตอนที่ 2 การร่างหลักสูตร และตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร ประชากรเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่กำลังเรียนปีการศึกษา 2561 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอำเภอวาปีปทุม จำนวน 71 แห่ง 78 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,231 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลพยัคฆ-ภูมิพิสัยอำเภออนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่กำลังเรียนปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลงาน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ (P) สถิติที่ใช้ทดสอบวิเคราะห์และเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ใช้ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples) ผลการนำเสนอข้อมูลระยะที่ 1 พบว่า 1. ปัญหาสำคัญที่พบจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองส่วนใหญ่มีผลการประเมินในมาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับปรับปรุงและพอใช้ นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีสถานศึกษาในสังกัดทั้งสิ้น จำนวน 225 แห่ง มีรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ไม่ผ่านการประเมินในมาตรฐานที่ 4 ด้านการคิดจำนวน 76 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33.77 2. แนวทางในการแก้ปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และการคิดไตร่ตรองให้ผู้เรียนมีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาครูให้มีทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดไตร่ตรอง ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาคือควรมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แต่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์และจัดทำเป็นหลักสูตรรายวิชาภาษาไทยในหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียนจึงดำเนินการตามแบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมาให้ รูปแบบวิธีการสอนส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนร้องเพลง เล่นเกม ขั้นสอนให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือ แบบเรียน โดยให้นักเรียนที่อ่านคล่องอ่านนำให้เพื่อนอ่านตาม จากนั้นให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบท้ายบทเรียน อาจมีกิจกรรมกลุ่มบ้างโดยการจับกลุ่มตามความพึงพอใจและวิธีการวัดประเมินผลคือให้นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจแบบฝึกหัด หรือครูเป็นผู้ตรวจใบงาน และแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน จากการวัดประเมินผลพบว่านักเรียนขาดทักษะการคิด ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ เพราะแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนส่วนมากจะเป็นแบบทดสอบการจำเป็นส่วนใหญ่ ผลการนำเสนอข้อมูลระยะที่ 2 ผลการสร้างหลักสูตรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วยหลักการ คือ 1. การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. กำหนดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเนื้อหาของหลักสูตร 3. จัดบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มีอิสระในการคิดในการปฏิบัติงาน และในการเรียนรู้ 4. สร้างแรงจูงใจทั้งภายนอกและภายใน 5. การวัดประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลายและการประเมินตามสภาพจริง วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ใน 2 ลักษณะ คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ หรือสติปัญญา ประกอบด้วย (1) ความคิดคล่องแคล่ว (2) ความคิดยืดหยุ่น (3) ความคิดริเริ่ม (4) ความคิดละเอียดลออ และด้านความรู้สึก จิตใจ หรือเจตคติ ประกอบด้วย (5) ความอยากรู้อยากเห็น (6) ความเต็มใจที่จะเสี่ยง (7) ความพอใจที่จะทำสิ่งที่สลับซับซ้อน (8) ความคิดจินตนาการ โครงสร้างเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ เป็นเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 หน่วย 80 ชั่วโมง ผลการนำเสนอข้อมูลระยะที่ 3 การใช้หลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/991
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010563002.pdf13.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.