Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/993
Title: Effects of Social Dance Exercise on Body Balance and Stress in Elderly
ผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุลของร่างกายและความเครียดในผู้สูงอายุ
Authors: Chirawut Achariyacheevin
ชิระวุฒิ  อัจฉริยชีวิน
Chairat Choosakul
ชัยรัตน์ ชูสกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การออกกำลังกาย
ลีลาศ
ความเครียด
ผู้สูงอายุ
Social Dance
Exercise
Stress
Elderly
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study the effects of social dance exercise on body balance and stress in elderly the 60 subjects with age range between 60 - 82 years old were drawn by simple random sampling technique and divided into 2 groups; 30 subjects for each experimental groups and 3 control group. Both groups were exercise for 8 weeks, 3 times per week and 1 hour per day. The experimental group was participated in the exercise program for elderly that developed by the researchers, which was designed by the vary dance moves and figures with concerning to the exercise principles for line dance activity, and the control group was exercise with the normal activity such as walking and aerobic dance.Research instruments included 1) Dance exercise programs for elderly, the Berg Balance test and the Suanprung Stress Test-20 (SPST-20). The results showed of pre and post 8 weeks exercise, both static and dynamic balance of the experimental group were increased with differently significant  (p<0.05),  and stress at post of 8 weeks exercise were decreased with differently significant  (p<0.05). Anyhow, the post of 8 weeks balance comparing between both group founded that static balance was differently significant  (p<0.05), while dynamic balance and stress was not founded different.  
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุลและความเครียดในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 – 82 ปี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยทั้ง 2 กลุ่ม ออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เท่ากัน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศสำหรับผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งมีการนำเอาลวดลายการเต้นหรือท่าทางการเต้นลีลาศ(Figures) ต่าง ๆ มาออกแบบตามหลักการการออกกำลังกายด้วยการเข้าแถวเต้น และกลุ่มควบคุมทำการออกกำลังกายตามปกติ เช่น เดิน วิ่ง และเต้นแอโรบิค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศสำหรับผู้สูงอายุ แบบทดสอบการทรงตัว (Berg Balance Scale) แบบทดสอบความสามารถในการเดินและการทรงตัว (Timed Up and Go test) และแบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST-20) ผลการศึกษาพบว่า ก่อนและหลังการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการทรงตัวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และความเครียดหลังการทดลองลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบการทรงตัว หลังการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ของทั้งสองกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีการทรงตัวขณะอยู่กับที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การทรงตัวขณะเคลื่อนที่และความเครียดของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน 
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/993
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010582005.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.