Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/996
Title: Developing A Program for Enhancing Achievement Competency of Teacher’s Performance in The Secondary Educational Service Area Office 33
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
Authors: Natawut Saoyong
ณัฐวุฒิ เสาว์ยงค์
Surachet Noirid
สุรเชต น้อยฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้าง
สมรรถนะครู
การปฏิบัติงานของครู
Enhancing Program
Teacher Competency
Teacher Performance
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were : 1) to study the factors and indicators of achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33, 2) to study the current condition and desirable condition of achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33, 3) to develop achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33. This research was conducted including 3 Phases which were: Phase 1, study the factors and indicators of achievement competency of teacher’s performance and evaluate the suitable evaluation by 7 experts. Phase 2, study the current condition and desirable condition of achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33 by querying the sampling groups of 346 administrators and teachers. Phase 3, develop achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33 by studying the information from documents, textbooks, in-depth interview the methods of developing achievementcompetency of teacher’s performance by using from 7 experts and evaluating a program for enhancing achievement competency of teacher’s performance by 7 experts. The tools used in the research composed of 1) the interviewing forms 2) the questionnaires and 3) the program of evaluation forms. The statistics used in analyzing data were mean, percentage, standard deviation and PNIModified. The results were as follows:                                               1. There were 4 factors and indicators of achievement competency of teacher’s performance which were 1) Planning Skills, the indicators of leanning skills were analyzing tasks in order to plan systematic problem solving, career goals, and learning management. 2) Intention and creative thinking, the indicators of intention and creative thinking were being intended and responded for hard work to achieve goal, being creative development in learning management, and seeking for new professional knowledge. 3) Being capable of monitoring and evaluation, the indicators of being capable of monitoring and evaluation were defining a form, a process of assessment and self evaluation. 4) Being capable of efficiency working, the indicators of being capable of efficiency working were analyzing the results of performance in order to improve and develop a better working, develop a working approach and proceed a new process.                                                                                                2. The current condition of achievement competency of teacher’s performance overall, was in the intermediate level. Desirable condition of achievement competency of teacher’s performance overall, was in the high level. The ranks from high to low of the Priority Needs in enhancing achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33 were planning skill, intention and creation in working, monitoring and evaluation, and developing efficiency work.                        3. The program for enhancing achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Education Service Area Office 33 was comprised of the program methods, objectives, contents, procession and evaluation by The techniques for enhancing achievement competency of teacher’s performance in the Secondary Educational Service Area Office 33 were as follows: training, seminar, workshop, lecture, socialization, mentoring, site visiting and a small group meeting.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์  ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู แล้วประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน  2)  ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 33 โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 33  ปีการศึกษา 2560  จำนวน   346  คน  3) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 33 โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำราต่าง ๆ  สัมภาษณ์เชิงลึกวิธีการพัฒนาสมรรถนะครูโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  และแบบประเมิน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified ) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้                                                                                          1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูมีองค์ประกอบ  4 ด้าน ได้แก่ 1) ความสามารถในการวางแผน ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้ คือ วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  กำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน และกำหนดแผนการ ปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน 2) ความมุ่งมั่นและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติหน้าที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้ คือ ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่การงาน  ทำงานด้วย ความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย  ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ ๆเพื่อการพัฒนา 3) ความสามารถในการติดตามประเมินผล ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้ คือ กำหนดรูปแบบและวิธีการวัดผลประเมินผล และประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง 4) ความสามารถในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้ คือ วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น   พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงาน และดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาการปฏิบัติงานใหม่                                                                                        2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความสามารถในการวางแผน ด้านความมุ่งมั่นและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติหน้าที่ ด้านความสามารถในการติดตามประเมินผล และ ด้านความสามารถในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามลำดับ                                                                                     3. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ประกอบด้วย หลักการของโปรแกรม วัตถุประสงค์  เนื้อหา  กระบวนการ การประเมินผล โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 33 ประกอบด้วย การอบรม  การสัมมนา  การประชุมเชิงปฏิบัติการ การฟังบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสอนงานแบบมีพี่เลี้ยง การศึกษาดูงาน และการประชุมกลุ่มย่อย
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/996
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586013.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.