Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1006
Title: The Developing Guideline for Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkhan
การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Authors: Junsesng Theaingtum
จันทร์แสง   เที่ยงธรรม
Paiboon Limmanee
ไพบูลย์ ลิ้มมณี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การนิเทศภายในแบบชี้แนะ
The Developing Guideline
Supervision and Coaching
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This purposes of this research were to 1) to study the elements and indicators of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan 2) to study the current and desirable situations of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan 3) to develop a Guideline for Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan. The samples of the study comprised of 327 administrators and the teachers in the Education Institutions under Primary Educational Service Area Office Buengkan were selected by Stratified Random Sampling. The research instruments consisted of 1) assessment form of elements of the coaching supervision. 2) a questionnaire on the current and desirable condition of coaching supervision in the schools. The questionnaire obtained the discrimination ranging from 0.31 to 0.74 and the reliability of 0.94 3) structured interviews 4) suitability and feasibility assessment of the coaching supervision guideline. The statistics used consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified). The results revealed that: 1. The elements of coaching supervision had 3 main elements and 11 sub elements and 41 indicators such as: The first element was the preparation before coaching supervision had 5 sub elements, 19 indicators comprised 1) to study information of coachee 2) to make relationships teamwork and a good atmosphere 3) to ask and listen opinion of coachee 4) Knowledge creation 5) to make data and information of school for supervision.  The second element was the performance of the coaching supervision had 4 sub elements, 14 indicators consisted of 1) to set goals and indicators 2) to determine the supervision process 3) to determine role in supervision 4) to perform the supervision as planned. The third element was the summary of coaching supervision had 2 sub elements, 8 indicators consisted of 1) to follow up the evaluation of coaching supervision 2) summary of coaching supervision and the planning for next supervision. 2. The current and desirable situations of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan found that the current condition of the overall coaching supervision was at a high level. When considering each element, it was found that all components were at high level. The desirable condition of overall coaching supervision was at the highest level. When considering each element, it was found that all components were at the highest level. 3. The guidelines of coaching supervision for educational institutions under Primary Educational Service Area Office Buengkan were the most appropriate and feasible at the highest level. The development guidelines can be summarized as follows. 3.1 The preparation before coaching supervision. To study information of coachee to create a good relationship and trust with coachee. The most importance is to find the desire and expectation of supervisor and coachee. The supervisor receives the desire of coachee and create knowledge. There were meeting of the teachers and all the people involved to share their thoughts and decisions, appoint a working group defining roles and functions clearly. To make correctly data and information of school, improve currently data, to save is the system for convenient to working. 3.2 The performance of the coaching supervision. To determine clearly a goal and result from supervision. To determine the calendar, divide 3 phases consist of pre-supervision, during supervision and post–supervision. The supervision operation appoints the supervisor who has knowledge, ability and succeed in operation. There were meeting all the people involved to share their thoughts and decisions, appoint a working group defining summary in operation. 3.3 The summary of coaching supervision. Preparation the instrument which involve principle, accuracy, clear include the aim and main point to use with evaluation and conclusion in the supervision operation. After all evaluation and conclusion must inform the result of evaluation to coachee. The coachee consider the way to improve the appropriate own aptitude. If the results of the evaluation show that the coaching supervision has succeeded, then the report will be published as Best Practices to guide others to improve the management of teaching and learning to be effective.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 327 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินองค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบชี้แนะ 2) แบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก รายข้ออยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 0.74 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในแบบชี้แนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับความต้องการโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 3 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย และมี 41 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 ขั้นเตรียมการก่อนการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 5 องค์ประกอบย่อย 19 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลของผู้รับการนิเทศ 2) สร้างสัมพันธภาพ ทีมงาน และสร้างบรรยากาศที่ดี 3) สอบถามและรับฟังความคิดเห็นจากผู้รับการนิเทศ 4) ผู้นิเทศสร้างองค์ความรู้ 5) จัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในกระบวนการนิเทศ องค์ประกอบที่ 2 ขั้นดำเนินการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 4 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด 2) กำหนดขั้นตอนการนิเทศ 3) กำหนดบทบาทในการนิเทศ 4) ดำเนินการนิเทศตามแผนที่วางไว้ องค์ประกอบที่ 3 ขั้นสรุปผลการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 2 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ติดตามผลและประเมินผลการนิเทศชี้แนะ และ 2) สรุปผลการนิเทศชี้แนะและวางแผนการนิเทศชี้แนะครั้งต่อไป 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศ ภายในแบบชี้แนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับ มาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบชี้แนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด 3. แนวทางการดำเนินการนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้    3.1 การเตรียมการก่อนการนิเทศภายในแบบชี้แนะ ดำเนินการศึกษาข้อมูลของผู้รับการนิเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความไว้วางใจแก่ผู้รับการนิเทศ สำรวจความต้องการและความคาดหวังของทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเป็นเรื่องสำคัญ ผู้นิเทศรับฟังในสิ่งที่ผู้รับการนิเทศต้องการและต้องมีการสร้างองค์ความรู้เรื่องต่าง ๆ จัดให้มีการประชุมคณะครูและบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานนิเทศให้ชัดเจน และจัดกระทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา ให้ถูกต้อง ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ระเบียบ มีการแยกประเภทของข้อมูลเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน             3.2 ขั้นดำเนินการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มีการกำหนดจุดประสงค์และผลลัพธ์ที่จะได้จากการนิเทศให้ชัดเจน กำหนดปฏิทินการนิเทศ แบบชี้แนะอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนการนิเทศ ระหว่างการนิเทศและหลังการนิเทศ ในการดำเนินการนิเทศแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศให้ชัดเจนผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานต้องจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินงาน 3.3 ขั้นสรุปผลการนิเทศภายในแบบชี้แนะ จัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินการนิเทศโดยคำนึงถึงหลักการและความถูกต้อง ชัดเจนครอบคลุมตามวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของการนิเทศ หลังการประเมินและสรุปผลทุกครั้งควรแจ้งผลการประเมินให้ผู้รับการนิเทศรับทราบผลการนิเทศ ได้พิจารณาเลือกแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดของตนเอง จัดทำรายงานเผยแพร่ผลงานเป็นผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในด้านที่ประสบผลสำเร็จจากการ ดำเนินงานนิเทศเพื่อเป็นแนวทางให้บุคคลอื่นได้นำไปพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สูงขึ้นต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1006
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58030580025.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.