Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1010
Title: | Development of Internal Supervision Model to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School under the Office of the Basic Education Commission การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | Thongkum Umpai ทองคำ อำไพ Sutham Thamatasenahant สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน คุณภาพการศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก Development of Internal Supervision Model Quality Education Small-Sized Primary School |
Issue Date: | 11 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research aimed 1) to study the components and indicators of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. 2) to study a present, desirable characteristic and the essential needs of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. 3) to develop of Model for of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. and 4) to Implementing the effect of using of Model for of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. The research was divided into 4 phases. Phase 1 study the components and indicators of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission by 9 experts. Phase 2 study a present, desirable characteristic and the essential needs. There were 374 samples consisting of administrators and teachers administrators and teachers Academic head teacher by Stratified Random Sampling. phase 3 develop of Model for of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. There were 10 by purposive Sampling of administrators and Academic head teacher and There were 9 experts by purposive Sampling. and Phase 4 Implementing the effect of using of Model for of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. Used for 10 people by purposive Sampling. Tools used in data collection Including questionnaires, assessments form, and interviews form Statistics used in data analysis are percentage. Average and standard deviation.
The results were as follows :
1. Elements and indicators of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission. have 4 components. 39 indicators The assessment results were at a very high level.
2. The current circumstances with the whole picture were at high level. The desirable characteristics with the whole picture were at high level. the need for the development 1) Supervision planning 2) Internal supervision operations 3) Supervision evaluation and 4) Building morale and supervision
3. The results of the development of internal supervision models to improve the quality of education for small educational institutions. It is affiliated with the Office of the Basic Education Commission consisting of 5 parts: Part 1, Principles, Concepts and Objectives, Part 2, Composition of Forms / Methods, Part 3, Applied Guidelines, Part 4, Evaluation and Part 5, Conditions for Success. The results of the assessments of feasibility and likelihood were at the highest level.
4. Implementing the effect of using of Model for of Internal Supervision to Enhance Educational Quality for Small-Sized Primary School Under the Office of the Basic Education Commission found that before and after using the When comparing the results Commission Have scores have higher post-development scores than before development there were significant differences at the level of .05 Before using supervision results at the medium level After using at the very high level and the satisfaction was at a very high level. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้แก่ ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายใน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 374 คน และการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ จำนวน 5 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาชุมพลบุรี 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ด้าน 39 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบและตัวบ่งชี้รวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันโดยรวมรายด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมรายด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการวางแผนการนิเทศ ลำดับที่ 2 ด้านการปฏิบัติการนิเทศ ลำดับที่ 3 ด้านการสรุปและประเมินผลการนิเทศ และลำดับที่ 4 ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจการนิเทศ 3. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ/วิธีดำเนินการ ส่วนที่ 3 แนวทางการนำไปใช้ ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมรูปแบบสูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินการทำกิจกรรมตามรูปแบบฯ ก่อนใช้อยู่ในระดับปานกลาง หลังใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1010 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010560005.pdf | 7.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.