Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKittin Phansenaen
dc.contributorกฤติน พันธุ์เสนาth
dc.contributor.advisorPachoen Kidrakarnen
dc.contributor.advisorเผชิญ กิจระการth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-09-05T09:26:33Z-
dc.date.available2021-09-05T09:26:33Z-
dc.date.issued12/3/2020
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1014-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis research aims to: 1) study the current condition, desirable conditions, and the needs for blended training to enhance the capability of information and communication technology (ICT) for school directors under the Office of the Basic Education Commission, 2) develop blended training models, and 3) study the results of using blended training models. The research process was divided into three phases. The 1st phase studied current conditions and desirable conditions and the needs for blended training to enhance capability in ICT for the directors of basic education institutions. The 2nd phase developed a blended training model, and the last phase studied the results of using the blended training model. The sample group used was: 1) directors of basic education institutions, which included 375 persons under the Office of the Basic Education Commission in academic year 2017, which were obtained by multi-stage random sampling, 2) six school development experts using in-depth interviews, 3) three experts from departments related to the development of teacher civil service and educational personnel, 4) nine experts in connoisseurship to consider the suitability and the possibility of drafting the model and supporting documents, and 5) seventeen directors of basic education institutions who trialed using the model. Tools used in the research were: 1) competency certification forms and indicators of technological and communication competency components of school directors, 2) opinion questionnaires about current conditions, desirable conditions and needs of basic school administrators, 3) in-depth interviews, 4) models and model’s manual  5) training courses, 6) training management plans, 7) tests of knowledge, 8) Skill range tests, 9) attitude test, 10) assessment forms for satisfaction with blended training, 11) training websites and training website manuals, 12) training applications on smartphones and a manual for using the training application on smartphones, and 13) seminar questions based on expert inputs. Statistics used were percentage, average, standard deviation, priority need index (PNImodified) and Wilcoxon signed-rank Test. The research results are as follows: 1. Current conditions regarding training problems: The most problematic aspect of education and training needs is that training department management lacks education needs and competency understanding before training is organized. Current conditions related to competency in ICT of directors of basic education institutions: Overall, found that directors of basic education institutions had a high level of competency in ICT. Desirable conditions and the needs for training: It was found that directors of basic education institutions needed training to enhance ICT competency in evaluating ICT usage in schools to the highest level. 2. An integrated training model was developed to enhance ICT competency for directors of basic education institutions, consisting of: 1) principles of the blended training model, 2) the purpose of the integrated training model, 3) processes and procedures of blended training, including: 3.1) needs study, 3.2) determination of competencies required for training, 3.3) setting training objectives, 3.4) defining computer technology and networking, 3.5) creating an integrated training course, 3.6) determining the role of trainees in combination, 3.7) conducting blended training, which consists of training in the training room and web-based training because of application flaws on smartphones and 3.8) evaluating the blended training, 4) mobile communication equipment and 5) ICT competencies of school directors. 3. Trainees followed the blended training model to enhance capabilities on ICT. For the directors of basic education institutions, they had an average score in knowledge, skills, and Attitude test after training that was higher than before training, with statistical significance (p < .05). 4. The trainees were satisfied with the overall training at the highest level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน และ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 375 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stages Random Sampling) 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) รวมทั้งสิ้น 6 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญในการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของร่างโมเดลและเอกสารประกอบโมเดล จำนวน 9 คน 5) ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ทดลองใช้โมเดล จำนวน 17 คน ได้มาด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบรับรองสมรรถนะ และตัวชี้วัดองค์ประกอบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีและสื่อสาร ของผู้อำนวยการสถานศึกษา 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4) โมเดลและคู่มือการใช้โมเดล 5) หลักสูตรการฝึกอบรม 6) แผนการจัดการฝึกอบรม 7) แบบทดสอบด้านความรู้ 8) แบบทดสอบด้านทักษะพิสัย 9) แบบทดสอบด้านจิตพิสัย 10) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 11) เว็บไซต์ฝึกอบรมและคู่มือการใช้เว็บไซต์ฝึกอบรม 12) แอพฟลิเคชั่นการฝึกอบรมบนสมาร์ทโฟนและคู่มือการใช้แอพฟลิเคชั่นการฝึกอบรมบนสมาร์ทโฟน 13) แบบคำถามการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ(PNImodified) และ Wilcoxon signed-rank Test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหาการฝึกอบรม พบว่า ด้านที่เป็นปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านการศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม ที่หน่วยงานผู้จัดการฝึกอบรมขาดการศึกษาความต้องการ และขาดการศึกษาสมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนที่จะมีการจัดการฝึกอบรม สภาพปัจจุบันที่เกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมพบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ICT ด้านการประเมินการใช้ ICT ในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด 2. โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) หลักการของโมเดลฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2) วัตถุประสงค์ของโมเดลฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3) กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ฝึกอบรมแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วย 3.1) การศึกษาความต้องการจำเป็น 3.2) กำหนดสมรรถนะที่ต้องการอบรม 3.3) กำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม 3.4) กำหนดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย 3.5) การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3.6) กำหนดบทบาทของผู้เข้ารับการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3.7) ดำเนินการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมและการฝึกอบรมบนเว็บผ่านแอปฟลิเคชั่นบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 3.8) ประเมินผลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 4) อุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่ และ 5) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยรวมในระดับมากที่สุดth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานth
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารth
dc.subjectTraining Blended Training Modelen
dc.subjectInformation and Communication Technologyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDevelopment a Blended Training Model for Enhancing the Competency of the Schools Director Under the Office of the Basic Education Commissionen
dc.titleโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010561001.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.