Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1021
Title: Development of Arts and Culture Leadership Enhancement Training Curriculum for Student in Faculty of Arts Education Bunditpatanasilpa Institute 
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Authors: Chinakrit Srisuk
ชินกฤต ศรีสุข
Prasong Saihong
ประสงค์ สายหงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: หลักสูตรฝึกอบรม
ภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม
Training Curriculum
Arts and Culture Leadership Enhancement
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study basic information and needs for the development of arts and culture leadership enhancement training curriculum, 2) to develop arts and culture leadership enhancement training curriculum for students, and 3) to try out and evaluate the developed arts and culture leadership enhancement training curriculum for students in Faculty of Arts Education, Bunditpatanasilpa Institute. The sample of this study was 30 first-year undergraduate students in Thai Drama Education Program, College of Dramatic Arts, Faculty of Arts Education, Bunditpatanasilpa Institute in academic year of 2018. The sample was selected based on a purposive sampling. The research instruments consisted of 1) interview form, 2) survey, 3) arts and culture leadership enhancement training curriculum, 4) pretest, 5) posttest, 6) work assessment scale, 7) Arts and Culture Leadership assessment scale, and 8) opinions towards Arts and Culture Leadership Enhancement Training Curriculum assessment scale. Data collected were then analyzed using statistics, including percentage, mean, and standard deviation. This study was the three-phase research and development, namely: Phase 1 was conducted by studying basic information; Phase 2 was conducted by developing the training curriculum; and Phase 3 was to conduct the try-out and the evaluation of training curriculum. The results of this research could be summarized as follows: 1. The development of arts and culture leadership enhancement training curriculum was important as a mechanism to cultivate all youths in order to conserve, preserve, create, nourish, and disseminate arts and culture as a national identity in various forms at local, national and international levels. Arts and culture are the representation of Thai nationality. The characteristics of leadership consisted of 5 components, namely: 1) vision, 2) emotional maturity, 3) responsibility, 4) human relations and teamwork, and 5)Ability to plan. Furthermore, the need for the development of arts and culture leadership enhancement training curriculum was at the highest level (x̄ = 4.60, S.D. = 0.53). 2. The developed arts and culture leadership enhancement training curriculum consisted of five steps, namely: 1) studying basic information and needs for development of the training curriculum, 2) defining the objectives of the training curriculum, 3) selecting the content and training activities, 4) organizing the training activities, 5) evaluating the training curriculum. In addition, the components of developed training curriculum included 1) Principles, 2) Purposes, 3) Structure, 4) Content, 5) Learning activities, 6) Training media, and 7) Measurement and evaluation. From the quality assessment by experts, the developed training curriculum was consistent with the consistence index of 1.0. The suitability of the developed training curriculum was at the highest level (x̄ = 4.68, S.D. = 0.16). 3. The effectiveness index (E.I.) of the attendees in the arts and culture leadership enhancement training curriculum was 0.3984, accounting for 39.84 %. From Leadership characteristics of students observation form, overall student presentation was at the highest level (x̄ = 4.58, S.D. = 0.06). Attendees’ overall arts and culture leadership behavior was at the high level (x̄ = 4.40, S.D. = 0.52) and their opinions towards the developed training curriculum was at the high level (x̄ = 3.74, S.D. = 0.53).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบสำรวจ 3) หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม 4) แบบทดสอบก่อนเข้ารับการฝึกอบรม 5) แบบทดสอบหลังเข้ารับการฝึกอบรม 6) แบบประเมินการนำเสนอผลงาน 7) แบบประเมินภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม 8) แบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินหลักสูตร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเยาชนทุกคน เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชน ในท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติเนื่องจากศิลปวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติไทย  และองค์ประกอบคุณลักษณะของภาวะผู้นำ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2)มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ 3) มีความรับผิดชอบ 4) มนุษย์สัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม 5) มีความสามารถในการวางแผน และมีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรบเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.60, S.D. = 0.53) 2. หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 2) กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม 3) คัดเลือกเนื้อหาและกิจกรรมการฝึกอบรม 4) การจัดกิจกรรมฝึกอบรม 5) การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมและมีองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม 4) เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม 5) กิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรฝึกอบรม 6) สื่อการฝึกอบรม 7) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม มีความสอดคล้อง ที่ค่าดัชนีความสอดคล้องในระดับ 1.0 และมีความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.68, S.D. = 0.16) 3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ ตามหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาที่เข้าร่วมการฝึกอบรม เท่ากับ 0.3984 คิดเป็นร้อยละ 39.84 คุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของนักศึกษาที่เข้าร่วมการฝึกอบรมจากการนำเสนอผลงานของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = 0.06) พฤติกรรมภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาที่เข้าร่วมการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40, S.D. = 0.52) และความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.74, S.D. = 0.53)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1021
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010585038.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.