Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1047
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Minmanus Wannamahin Salangsing | en |
dc.contributor | มิญช์มนัส วรรณมหินทร์ สลางสิงห์ | th |
dc.contributor.advisor | Pacharawit Chansirisira | en |
dc.contributor.advisor | พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-09-05T09:26:38Z | - |
dc.date.available | 2021-09-05T09:26:38Z | - |
dc.date.issued | 18/5/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1047 | - |
dc.description | Doctor of Education (Ed.D.) | en |
dc.description | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purpose of the present study was to develop the healthy school educational management model in educational opportunity extension school. There were 3 phases of the study. Phase 1 was the study related to the elements and the indicators of healthy school educational management in educational opportunity extension schools. The sample for exploratory factor analysis was 550 consisted of school administrators, teachers who responsible for the head of academic department and teachers, the sample for confirmatory factor analysis was 320. The research instrument was questionnaire and the statistics used to analyze the data were exploratory factor analysis and confirmatory factor analysis. Phase 2 was the development of the healthy school educational management model in educational opportunity extension schools, the informants of this phase consisted of the school administrators and teachers who responsible for the head of academic department in 3 schools where there was the best practicing and 12 experts for connoisseurship. The research instruments were semi-structured interview questions and model evaluation form. The statistics used for analyzing the data were content analysis, mean and standard deviation. Phase 3 was the study the results of the implementation the healthy school educational management model, the participants were 35 consisted of the school administrators, teachers, school committee boards, parents and the community leaders of the schools where the model was implemented. The research instruments were evaluation form and questionnaire. The data were analyzed using mean and standard deviation. The research results were presented as follows: 1. There were 4 elements and 16 indicators of healthy school educational management in educational opportunity extension schools which shown as following. Element 1: health of the students comprised of 5 indicators included the learners had learning skills, 2) having coexist happily skills, 3) having virtue and consciously conservation, 4) having life skills and health skills, and 5) having safety skills. Element 2 : health of the school consisted of 5 indicators, comprised of 1) management system to promote healthy, 2) development the curriculum and teachers to enable learning management, 3) active learning management and having evaluation continuously, 4) development of innovation and having professional in teaching, and 5) having collaboration and the supporting learners system. Element 3 : health of the environment comprised of 3 indicators included 1) managing of the environment to facilitate learning, 2) developing the security system, nutrition and food sanitation system, 3) waste managing and hygienic sanitation systems. Element 4: health of family and community consisted of 3 indicators comprised of 1) participation and responsibility of the community for the education management, 2) participation of family to promote healthy, 3) creation good relationship in the family. The most important element was health of family and community, followed by health of the school, health of the environment and health of students respectively. 2. The healthy school educational management model in educational opportunity extension schools consisted of 1) principles and rationales, 2) purpose of the model, 3) structure and contents of the model, 4) operational process, 5) approaches for measurement and assessment the model and 6) conditions for adopting the model. The result of the model suitability evaluation was rated in the most level, and the possibility evaluation of the model was rated in more level. 3. The results of implementation the healthy school educational management model in educational opportunity extension schools yielded that after the implementation of the model, overall results of behaviors or healthy shown that mean level was higher than before. Before the implementation of the model mean was at moderate level while after the implementation mean was at high level. The result of healthy school educational management model evaluation was shown at the most level of all aspects. The highest average was usefulness followed by accuracy, suitablity and possibility, respectively. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำหรับเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 550 คน และสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติดีเด่นหรือยอดเยี่ยม จำนวน 3 โรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ศึกษาผลการนำรูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไปใช้ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน ของโรงเรียนที่นำรูปแบบไปใช้ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีจำนวน 4 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 สุขภาวะของผู้เรียน มี 5 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ 2) ผู้เรียนมีทักษะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 3) ผู้เรียนมีคุณธรรม มีจิตสำนึกอนุรักษ์ 4) ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและทักษะสุขภาพ และ 5) ผู้เรียนมีทักษะความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2 สุขภาวะของโรงเรียน มี 5 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ระบบการบริหารจัดการเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาวะ 2) พัฒนาหลักสูตรและพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) วัดผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) ครูพัฒนานวัตกรรมและมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และ 5) มีบรรยากาศการร่วมมือกันทำงานและมีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน องค์ประกอบที่ 3 สุขภาวะของสภาพแวดล้อม มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) พัฒนาระบบป้องกันภัย ระบบโภชนาการและการสุขาภิบาลอาหารที่ดี 3) บริหารจัดการขยะและระบบสุขาให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ และองค์ประกอบที่ 4 สุขภาวะของครอบครัวและชุมชน มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา 2) ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี 3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว โดยองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ สุขภาวะของครอบครัวและชุมชน รองลงมาคือ สุขภาวะของโรงเรียน สุขภาวะของสภาพแวดล้อม และสุขภาวะของผู้เรียน ตามลำดับ 2. รูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) โครงสร้างและเนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการดำเนินงาน 5) แนวทางการวัดและประเมินรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมาก 3. ผลการนำรูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไปใช้ พบว่า โดยภาพรวมหลังการนำรูปแบบไปใช้มีค่าเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมหรือมีระดับสุขภาวะสูงกว่าก่อนการนำรูปแบบไปใช้ โดยก่อนการนำรูปแบบไปใช้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการนำรูปแบบไปใช้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ตามลำดับ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | โรงเรียนสุขภาวะ | th |
dc.subject | การจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ | th |
dc.subject | รูปแบบการจัดการศึกษา | th |
dc.subject | Healthy School | en |
dc.subject | Healthy School Educational Management | en |
dc.subject | Educational Management Model | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The Development of Healthy School Educational Management Model in Educational Opportunity Extension Schools | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010562005.pdf | 10.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.