Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1055
Title: The Comparison of Learning Achievement and Problem Solving Ability in Mathematics Entitled Probability of Muthayomsuksa 4 Students between POLYA Approach with SSCS and Traditional Approach
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
Authors: Lumdaun Jumpaburee
ลำดวน จำปาบุรี
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
ความน่าจะเป็น
แนวคิดของ POLYA
โมเดล SSCS
The Comparison of Learning Achievement
Problem Solving Ability
Probability
POLYA Approach
SSCS Model
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed 1) to compare learning achievement of students who learnt probability of Mathematics before and after learning through POLYA approach together with SSCS, 2) to compare problem solving ability of students who learnt probability of Mathematics before and after learning through POLYA approach together with SSCS, 3) to compare learning achievement and problem solving ability of students who learnt probability of Mathematics through POLYA approach together with SSCS and traditional approach. The sample of the study consisted of 27 students of 4/1 classroom who learnt through POLYA approach together with SSCS and 27 students of 4/2 classroom who learnt through traditional approach. They studied in the 2nd semester of the academic year 2019 and they were selected by cluster random sampling. The instruments used in the study comprised of 1) 12 lesson plans of Mathematics titled probability for Muthayomsuksa 4 students by using POLYA approach together with SSCS, 2) 12 lesson plans of Mathematics titled probability for Muthayomsuksa 4 students by using traditional approach, 3) 30 items of multiples choices learning achievement test and 4) 5 items of problem solving ability of Mathematics titled probability test. The data were analyzed by using mean, standard deviation percentage and (t-test) statistics. The results of the study revealed that 1. The results of learning achievement test of students after learning through POLYA approach together with SSCS was higher than before learning significantly at .05 statistics. 2. The results of problem solving ability test of students after learning through POLYA approach together with SSCS was higher than before learning significantly at .05 statistics. 3. The results of learning achievement and problem solving ability of students through POLYA approach together with SSCS were higher than the results of students for those who learnt through the traditional approach significantly at .05 statistics.
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 27 คน จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 27 คน จัดการเรียนรู้แบบปกติ นักเรียนโรงเรียนชื่นชมพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYAร่วมกับ SSCS จำนวน 12 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 12 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCSหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความสามรถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCSหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง นักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่า นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1055
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585011.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.