Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1057
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Siriporn Tanawet | en |
dc.contributor | ศิริพร ทานะเวช | th |
dc.contributor.advisor | Yannapat Seehamongkon | en |
dc.contributor.advisor | ญาณภัทร สีหะมงคล | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-09-05T09:26:39Z | - |
dc.date.available | 2021-09-05T09:26:39Z | - |
dc.date.issued | 4/4/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1057 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The present study aimed 1) to develop the lesson entitled probability using KWDL teaching technique and traditional learning activities to achieve the criteria 75/75 of the efficacy, 2) to investigate the effectiveness index of learning probability using KWDL teaching technique and traditional learning activities of Muthayomsuksa 4 students, 3) to compare learning achievement and problem solving thinking of Muthayomsuksa 4 students before and after learning through probability using KWDL teaching technique and traditional learning activities and 4) to compare learning achievement and problem solving thinking of Muthayomsuksa 4 students between KWDL teaching technique and traditional learning activities. The sample of this study was 64 Muthayomsuksa 4 students from 2 classrooms of Patiuwittaya School, Patiu district, Yasothon province who were studying in the 2nd semester of 2020 academic year. The sample was selected by cluster random sampling. The instruments used in the study comprised of 1) 12 lesson plans of using KWDL teaching technique and lesson plans of traditional learning activities entitled probability which lasted 12 hours and each one lasted 1 hour, 2) 15 items of multiple with 5 choices of Mathematics learning achievement test which the difficulty (P) was 0.47-0.72, the discrimination (B) was 0.31-0.75 and the reliability (rcc) was 0.89, 3) 20 items of multiple with 4 choices of problem solving thinking test which the difficulty (P) was 0.47-0.75, the discrimination (B) was 0.25-0.63 and the reliability (rcc) was 0.76. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and hypothesis testing was t-test (dependent samples) and Hotelling T2. The results of the study revealed that 1. Learning management by using KWDL teaching technique and traditional learning activities entitled probability of Muthayomsuksa 4 students shown that there was 83.85/81.88 and 82.65/76.15 respectively of the efficacy which achieved the criteria of 75/75. 2. The effectiveness index of learning probability using KWDL teaching technique and traditional learning activities of Muthayomsuksa 4 students revealed that there was 0.6974 and 0.6221 which yielded that students had progression in learning which was 69.74 percent and 62.21 percent respectively. 3. After learning through KWDL teaching technique and traditional learning activities, students performed the results of learning achievement and problem solving thinking higher significantly at .05 statistics. 4. Students who learnt through KWDL teaching technique had higher scores of learning achievement and problem solving thinking than traditional learning activities significantly at .05 statistics. In conclusion, KWDL teaching technique affected higher scores of learning achievement. They are able to have analysis thinking, systematical thinking and problem solving. Hence, this kind of teaching technique is applicable in the Mathematics classroom. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าติ้ววิทยา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 64 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชนิดละ 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 12 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47–0.72 มีอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.31–0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.89 (3) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47–0.75 มีอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25–0.63 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Dependent Samples) และ Hotelling T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.85/81.88 และ 82.65/76.15 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6974 และ 0.6221 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 69.74 และ 62.21 ตามลำดับ 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหา สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยสรุป การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รู้จักคิดวิเคราะห์ แยกแยะหาความสัมพันธ์ มีลำดับขั้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา ซึ่งจะส่งผลให้เป็นนักแก้ปัญหาที่ดี ดังนั้นครูคณิตศาสตร์ควรนำการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ใช้สอนเพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th |
dc.subject | การคิดแก้ปัญหา | th |
dc.subject | ความน่าจะเป็น | th |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL | th |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้แบบปกติ | th |
dc.subject | The Comparison of Learning Achievement | en |
dc.subject | Problem Solving Thinking | en |
dc.subject | Probability | en |
dc.subject | KWDL Teaching Technique | en |
dc.subject | Traditional Learning Activities | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The Comparison of Learning Achievement and Problem Solving Thinking of Matthayomsuksa 4 Students on The Topic of Probability Between KWDL Teaching Technique and Traditional Learning Activities | en |
dc.title | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความน่าจะเป็น ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010585013.pdf | 6.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.