Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1058
Title: The Development of Mathematical Problems Activities by Using Metacognition to Promote Problem Solving Ability in Ratio and Percentage of Matthayomsuksa 1 Students
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Hataigan Ponpunkang
หทัยกาญจน์ พลพันขาง
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เมตาคอกนิชัน
อัตราส่วนและร้อยละ
Learning Activities
Mathematical Problems
Metacognition
Ratio and Percentage
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed 1) to develop Mathematical problems activities by using metacognition in ratio and percentage of Mutthayomsuksa 1 students to achieve the criteria 75/75 of the effectiveness, 2) to investigate the efficacy of Mathematical problems activities by using metacognition in ratio and percentage of Mutthayomsuksa 1 students, 3) to study the results of implementation Mathematical problems activities by using metacognition in ratio and percentage of Mutthayomsuksa 1 students as follows: 3.1) to compare learning achievement of Mutthayomsuksa 1 students who learnt through Mathematical problems activities by using metacognition with the criteria 75 of percentage, 3.2) to compare problem solving ability of Mutthayomsuksa 1 students who learnt through Mathematical problems activities by using metacognition with the criteria 75 of percentage. The sample of the present study was 1 classroom 40 people of Mutthayomsuksa 1 students who were selected by cluster random sampling. The instruments used in the study comprised of 1) 3 Mathematical problems activities by using metacognition covered ratio, proportion and percentage which the appropriateness ranged in the most level with 4.70 of mean 2) 30 items of learning achievement test with 4 multiple choices which the discrimination was ranged 0.22-0.58 and the reliability was 0.90 3) 5 items of written problem solving ability test which the difficulty was ranged 0.21-0.60, the discrimination was ranged 0.40-0.75 and the reliability was 0.81. The statistics used in the study consisted of percentage, mean, standard deviation and t-test. The results revealed that 1. Mathematical problems activities by using metacognition in ratio and percentage of Mutthayomsuksa 1 students achieved the criteria 86.85/76.08 of the effectiveness which higher than the criteria of 75/75. 2. The efficacy of Mathematical problems activities by using metacognition in ratio and percentage of Mutthayomsuksa 1 students shown that there was 0.69 or 69 as percentage. 3. Learning achievement of Mutthayomsuksa 1 students who learnt through Mathematical problems activities by using metacognition was meet the criteria 75 of percentage with .05 statistics significantly. 4. The results of Mathematical problem solving ability of Mutthayomsuksa 1 students who learnt through Mathematical problems activities by using metacognition shown that students performed  Mathematical problem solving meet the criteria 75 of percentage with .05 statistics significantly.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของเมตาคอกนิชันกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชันกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน จำนวน 3 ชุด ได้แก่ อัตราส่วน, สัดส่วน และร้อยละ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.70 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.58 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 3) แบบทดสอบวัดสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เป็นข้อสอบแบบอัตนัยเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.6 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.85/76.08 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.66 หรือคิดเป็นร้อยละ 66 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของเมตาคอกนิชัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. ผลการทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน พบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นไปตามเกณฑ์เกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1058
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585014.pdf8.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.