Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1060
Title: The Development of an Integrated unit of Buddhism’s Fable in Learning Area of Social Studies Religion and Culture for Students of Matthayomsuksa 1
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Phornphot Narumon
พรพจน์ นฤมล
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
การเรียนรู้แบบบูรณาการ
The Development
Integrated Learning
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of research were 1) to development of an integrated unit of Buddhism’s Fable, 2) to study the results of an integrated unit with 3 sub-purposes of study: 2.1) to compare pretest and posttest achievements of 7th Grade students, 2.2) to study the E.Q. of 7th Grade students and 2.3) and 3) to study the satisfaction of 7th Grade students. The process of research were Step 1 :  develop and find out the effectiveness of an integrated unit by studying and collecting the basic data from documents, books and an interview.2) The instruments were 1) An integrated unit of Buddhism’s Fable 2) An assessment’s form for learning unit. Step 2: study the results of an integrated unit was conducted through cluster sampling, 35 students. The instruments were 1) An achievement test.; 2) An E.Q. test.; 3) A behavior observation of E.Q., 4) An interview of E.Q.’s development and 5) A questionnaire of students’ satisfaction. The data were analyzed by mean, percentages, standard, deviation and t-test (dependent). Results of the research are as follows : 1. An integrated unit of Buddhism’s Fable had the most suitable quality (x̅ = 4.71, S.D. = 0.14) and the effectiveness were 85.60/82.48, equivalent to 80/80 criteria. 2. The results of an integrated unit of Buddhism’s Fable were 2.1 The 7th grade students who were taught with an integrated unit of Buddhism’s Fable had post - test achievement higher than pre-test significantly at the .05 level. 2.2 The E.Q.’s 7th grade students divided into 2 groups 1) The normal groups were 33 students (94.71%). They were good student and developed themselves for goodness, intelligence and happiness. 2) The lower groups were 2 students (5.29 %). They were not good student. Teachers should be helped them for E.Q. and behavior’s development. And 2.3 The 7th grade students who were learned by an integrated unit of Buddhism’s Fable had the most satisfaction (x̅ = 4.60, S.D. = 0.56)
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก ประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการศึกษาข้อมูลจากผู้รู้ เอกสาร และงานวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก 2) แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ธรรมชาดก 2) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความฉลาดทางอารมณ์ 4) แบบสัมภาษณ์การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 5) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติ t-test (dependent) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมากที่สุด ระดับคุณภาพเท่ากับ 4.71 (x̅ = 4.71, S.D. = 0.14) และมีประสิทธิภาพ มีค่าเท่ากับ 84.50/81.05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก พบว่า 2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความฉลาดทางอารมณ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มปกติ จำนวน 33 คน (ร้อยละ 94.29) มีพฤติกรรมที่ดีเยี่ยม และสามารถพัฒนาตนเองให้ เก่งดี มีสุข ได้ 2) กลุ่มต่ำเกณฑ์ปกติ จำนวน 2 คน (ร้อยละ 5.71) มักจะแสดงพฤติกรรมเสี่ยง ควรหาวิธีในการแก้ไข ปรับปรุง พฤติกรรมของนักเรียน ให้ดีขึ้น และ 2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ธรรมชาดก อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.60, S.D. = 0.56)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1060
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585027.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.