Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1085
Title: | The Development of Learning Achievement in Graph and Linear Relations and Mathematics Problem Solving Ability of Mattayomsuksa 1 Students by Applying Cooperative Learning with POLYA Approach : Mixed–Method Research การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา : การวิจัยผสานวิธี |
Authors: | Pawadee Suandee ภวดี สวนดี Yannapat Seehamongkon ญาณภัทร สีหะมงคล Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แนวคิดของโพลยา การวิจัยผสานวิธี The Development of Learning Achievement Graph and Linear Relations Mathematics Problem Solving Ability POLYA Approach Mixed–Method Research |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were to1) to study the guidelines for develop learning activities by applying cooperative learning and POLYA approach, 2) to compare students’ learning achievement in graph and linear relations and Mathematics problem solving ability who learnt through cooperative learning and POLYA approach, 3) to study Mattayomsuksa 1 students’ satisfaction toward applying cooperative learning and POLYA approach. The design of this research was mixed method comprised of 2 procedure . procedure 1 was the development learning activities by investigate the theory and related studies together with interview 5 of the experts and teachers who teach Mathematics in order to analyze the data in order to contained in the lesson plans of applying cooperative learning and POLYA approach. procedure was the implementation of the lesson plans. The sample was Mattayomsuksa 1 students who were studying in the 2nd semester of the academic year 2019 of Watprachanimit School under Nakhon Ratchasima provincial administration organization. The sample was 30 of 1/3 classroom who selected by Purposive sampling as an experimental group learnt by applying cooperative learning and POLYA approach while 30 of 1/2 classroom who selected as a control group learnt through traditional approach. The instruments consisted of lesson plans of applying cooperative learning and POLYA approach and lesson plans of traditional approach, 30 items of learning achievement test which the difficulty was .30-.80 of, the discrimination was .20–.93 of and the reliability was .94, 20 items of problem solving ability test which the difficulty was .30-.73, the discrimination was .40-.87 and the reliability was .92, questionnaire of students satisfaction which the discrimination was .32-.86 and the reliability was .93. The statistics used in the study comprised of mean, standard deviation and one–way MANOVA.
The results of the research were as follows :
1. Gaining the guidelines of learning management in graph and linear relations of Mattayomsuksa 1 by applying cooperative learning and POLYA approach.
2. Students who learnt through applying cooperative learning and POLYA approach in graph and linear relations have higher scores of learning achievement and having ability to solve the problems more than students who learnt by traditional approach Statistical Significance level of .05.
3. Students who learnt through applying cooperative learning and POLYA approach satisfied toward this learning approach rated in the greatest level of satisfaction (x̅ = 4.72–4.76). การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา การดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed-method Research) มี 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกับการสัมภาษณ์ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน รวม 5 คน เพื่อนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางการจัดการกิจกรรมเรียนรู้ โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา ตอนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ด้วยแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่แท้จริง (True control group, Posttest Design) ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดประชานิมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องกราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 2 วิธี วิธีละ 10 แผน ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบ่งออกเป็น 2 ฉบับได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ .30 ถึง .80 มีค่าอำนาจจําแนก (B) ตั้งแต่ .20 ถึง .93 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .94 และฉบับที่ 2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ .30 ถึง .73 มีค่าอำนาจจําแนก (r) ตั้งแต่ .40 ถึง .87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .92 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านกระบวนการ ด้านสื่อ และด้านการวัดผลประเมินผล จำนวน 1 ฉบับ 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) เท่ากับ .32 ถึง .86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับฉบับเท่ากับ .93 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ได้แนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดของโพลยามีความพึงพอใจโดยรวมและรายข้อทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.72–4.76) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1085 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61010584003.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.