Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1086
Title: A Construction of Experimental Performance Measuring in Physics Learning Unit of Direct Current for Mathayomsueksa 5
การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้ากระแสตรง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Suriya Phopiasri
สุริยา โพธิ์เปี้ยศรี
Oranuch Wara-Asawapati Srisa-Ard
อรนุช วราอัศวปติ ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แบบวัดภาคปฏิบัติ
การทดลองทางฟิสิกส์
Experimental Performance Measuring
Physic Experiment
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to constructing and to evaluation the quality of experimental performance measuring in physics learning unit of direct current for Mathayomsueksa 5. The research sample were 62 Mathayomsueksa 5 students in the science – mathematics study plan for second semester year 2019 of schools in the secondary educational service area office 24. and selected by purposive sampling method. The research tool were experimental performance measuring in physics. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, discrimination, and reliability. The results of the research are as follow : 1. A construction of experimental performance measuring in physics found out Index of consistency (IOC) values ranging 0.80 to 1.00. Discrimination values ranging 0.356 to 0.766 for researcher’s assessment. 0.345 to 0.790 for teacher’s assessment and 0.350 to 0.778 for average discrimination values and was statistically significant at the .05 level. Inter-rater reliability values ranging 0.981 to 0.989 and was statistically significant at the .05 level. Reliability values of instruments ranging 0.891 to 0.913 for researcher’s assessment. 0.891 to 0.908 for teacher’s assessment and 0.891 to 0.911 for average reliability values. 2. A evaluation the quality of experimental performance measuring in physics found out Concurrent validity values ranging 0.936 to 0.958 for researcher’s assessment. 0.917 to 0.956 for teacher’s assessment and 0.927 to 0.957 for average concurrent validity values and was statistically significant at the .05 level. Discrimination values ranging 0.426 to 0.780 for researcher’s assessment. 0.426 to 0.751 for teacher’s assessment and 0.431 to 0.753 for average discrimination values and was statistically significant at the .05 level. Inter-rater reliability values ranging 0.900 to 0.933 and was statistically significant at the .05 level. Reliability values of instruments ranging 0.904 to 0.928 for researcher’s assessment. 0.900 to 0.933 for teacher’s assessment and 0.903 to 0.931 for average reliability values. In conclusion, the experimental performance measuring in physics had a required–standard quality and could be implemented in measuring experimental performance in learning unit of direct current for Mathayomsueksa 5.
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้ากระแสตรง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อหาคุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำนวน 62 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ พบว่า แบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ ทั้ง 3 ฉบับ มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ทุกฉบับ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อจากการประเมินของผู้วิจัย มีค่าตั้งแต่ 0.356 ถึง 0.766 จากการประเมินของครูผู้สอน มีค่าตั้งแต่ 0.345 ถึง 0.790 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อเฉลี่ยของแบบวัด มีค่าตั้งแต่ 0.350 ถึง 0.778 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 2 คน มีค่าตั้งแต่ 0.981 ถึง 0.989 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดจากการประเมินของผู้วิจัย มีค่าตั้งแต่ 0.891 ถึง 0.913 จากการประเมินของครูผู้สอน มีค่าตั้งแต่ 0.891 ถึง 0.908 และค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ยของแบบวัด มีค่าตั้งแต่ 0.891 ถึง 0.911 2. การหาคุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ พบว่า แบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ ทั้ง 3 ฉบับ มีค่าความเที่ยงตรงตามสภาพจากการประเมินของผู้วิจัย มีค่าตั้งแต่ 0.936 ถึง 0.958 จากการประเมินของครูผู้สอน มีค่าตั้งแต่ 0.917 ถึง 0.956 และค่าความเที่ยงตรงตามสภาพเฉลี่ยของแบบวัด มีค่าตั้งแต่ 0.927 ถึง 0.957 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อจากการประเมินของผู้วิจัย มีค่าตั้งแต่ 0.426 ถึง 0.780 จากการประเมินของครูผู้สอน มีค่าตั้งแต่ 0.426 ถึง 0.751 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อเฉลี่ยของแบบวัด มีค่าตั้งแต่ 0.431 ถึง 0.753 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 2 คน มีค่าตั้งแต่ 0.987 ถึง 0.990 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดจากการประเมินของผู้วิจัย มีค่าตั้งแต่ 0.904 ถึง 0.928 จากการประเมินของครูผู้สอน มีค่าตั้งแต่ 0.900 ถึง 0.933 และค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ยของแบบวัด มีค่าตั้งแต่ 0.903 ถึง 0.931 โดยสรุป แบบวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ที่ผ่านการทดลองใช้ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในการวัดภาคปฏิบัติการทดลองทางฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้ากระแสตรง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1086
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010584005.pdf10.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.