Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1102
Title: The Development of Teacher Competency In Active Learning Management: A case study of Satuk United Campus Under the  Office of Secondary Educational Service Area 32
การพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก : กรณีศึกษาสหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32
Authors: Saknarin Ninratsirikul
ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตน์ศิริกุล
Peerasak Worrachat
พีระศักดิ์ วรฉัตร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
การพัฒนาสมรรถนะครู
Active Learning
Teacher Competency Development
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:        The purpose of this research were to 1) Study the current conditions and the desirable condition of teachers’competency by Active learning 2) Develop teachers’competency by Active learning in Satuk United Campus to know,understand and able to Active learning management 3) Develop of teacher’competency handbook in Active learning in Satuk United Campus under the Secondary Educational Service Area Office 32. the research process had 3 stages as 1) to study of current conditions and the desirable condition of teachers’competency by Active learning.The 175 sample who were selected by Stratified random sampling gave information.The instrument was questionnaires. 2) Development of teachers’competency in Active learning. The study was Action Research using workshops and supervision strategy.The taeget group was 13 voluntary teacher in the Association Committee who study and give information. The instrument was observing interview form Assessment plan for Active learning management Active learning management assessment form Test of knowledge and understanding in Active learning management. 3) Development of teacher’competency handbook in Active learning in Satuk United Campus. There were 7 experts who were selected by purposive sampling gave information.  The instrument was Results and The handbook possibility assessment form. The statistics used were percentage, mean, and standard deviation. The research findings revealed that           1. The current conditions of teachers’ competency development in Active Learning was at Moderate level (=2.64) and the desirable condition of teachers’ competency development in Active Learning overall was at a much level (=4.47)           2.Teachers’ competency development in Active Learning in the Satuk United Campus by using 2- cycles. The results can be summarized as follows: 1)Teachers’ competency development in Active Learning.The co-researcher to know,understandan and can manage Active Learning. But have other 2 co-researchers have problems in using and developing learning media and measurement and evaluation. The researcher therefore uses this problem to proceed with the development in the second cycle.  2) Performance in the second cycle by using workshops and supervision.ble to develop the co-researchers who have problems with the use and development of learning media and measurement and evaluation.To have knowledge and understanding And confidence in Active learning management  achieve the goal set.           3. Development of teacher’competency handbook in Active learning consisted of 1) Background and Significance 2)Objectives 3) How to proceed and 4) Monitoring and Evaluation,Appropriate Assessment Results over all was in high level (=4.32) and The handbook possibility over all was in high level (=4.43)  
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32  2)เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก และ 3)เพื่อพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 การดำเนินการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยแบบผสม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม  ระยะที่ 2  การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศติดตาม  โดยมีเป้าหมาย เป็นครูผู้สอนใน สหวิทยาเขตสตึกที่สมัครใจ จำนวน 13 คน เข้าร่วมศึกษาและเป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์  แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า         1.สภาพปัจจุบันของการพัฒนาสมรรถนะครู  ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง  (  = 2.64) และสภาพที่พึงประสงค์  ของการพัฒนาสมรรถนะครู  ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (  =4.47 )           2.การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32  สรุปผลได้  ดังนี้ 1)ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้รับการพัฒนาความรู้  ความเข้าใจโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศติดตาม  ปัญหาที่พบ  คือ ผู้ร่วมวิจัยอีก 2 คน มีปัญหาด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล ผู้วิจัยจึงนำปัญหานี้ไปดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 ต่อไป  2)ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ติดตาม  พบว่า สามารถพัฒนาผู้ร่วมวิจัยที่มีปัญหาด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล ให้มีความรู้ความเข้าใจ และความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้บรรลุเป้าหมาย            3.การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ประกอบด้วย 1)ความเป็นมาและความสำคัญ 2)วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ และ4)การติดตามและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการพัฒนาสมรรถนะครู  ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32  โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.32) และความเป็นไปได้ของคู่มือการพัฒนาสมรรถนะครู  ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สหวิทยาเขตสตึก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก  ( = 4.43) 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1102
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586022.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.