Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSupattra Parajoomen
dc.contributorสุพัตรา ปาระจูมth
dc.contributor.advisorSuwat Junsuwanen
dc.contributor.advisorสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-09-05T09:26:47Z-
dc.date.available2021-09-05T09:26:47Z-
dc.date.issued12/5/2020
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1113-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThis research topic was developing guideline-based peer coaching supervision for schools under the Mahasarakham primary educational service area office 2. The purpose of this research were 1) to study the current situation desirable condition and the need for internal supervision like a friend to help friends for school Under the Mahasarakham primary educational service area office 2, 2) to develop a friend-by-friend internal supervision method for schools Under the Mahasarakham primary educational service area office 2. The group of sample were consisting of 327 school administrators and teachers and the group size was determined by stratified random sampling. The research tools were questionnaires and interview forms. Data analysis used computer software. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The research process consists of 2 phases; phase 1 studies on current conditions desirable condition and needs of internal supervision like a friend helping friends for educational institutions Under the Mahasarakham primary educational service area office 2, phase 2 the development of a peer-to-peer internal supervision guidelines for schools Under the Mahasarakham primary educational service area office 2 education guidelines for development by studying from schools that have good practices. The research results were as follows 1. The current state of internal supervision in the form of peer-to-peer supervision for schools under the Mahasarakham primary educational service area office 2 was at a medium level and the desirable conditions of peer supervision in school under the Mahasarakham primary educational service area office 2 was at the highest level. 2. The development of guidelines for internal supervision in the form of peer help peers for schools Under the Mahasarakham primary educational service area office 2 were consisting of 5 process 44 guidelines as follows: 1) Current educational conditions problems and need for internal supervision like a friend helping friends 2) Planning and defining options for internal supervision in the form of a friend helping friends 3) The practice of internal relations with a friend helping friends 4) Assessing the internal supervision of a friend helping friends 5) On the improvement and extension Internal supervision like a friend helping friends. Guidelines for internal supervision as a friend to help friends for schools under the Mahasarakham primary educational service area office 2 was suitable and has a high level of possibility.en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาโดยการศึกษาจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย 5 กระบวนการ 44 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) ด้านการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 4) ด้านการประเมินผลการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 5) ด้านการปรับปรุงแก้ไขและต่อยอดการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน แนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับสถานศึกษา โดยมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการพัฒนาแนวทางth
dc.subjectการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนth
dc.subjectDeveloping Guideline-baseden
dc.subjectPeer Coaching Supervisionen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDeveloping Guideline-based Peer Coaching Supervision for Schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 2en
dc.titleการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586038.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.