Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1128
Title: Developing Guidelines to Enhance Competency of Teachers in Self-Development under Roi-et Primary Educational Service Area Office 1
การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
Authors: Peerawat Phetthong
พีรวัสดิ์ เพ็ชรทอง
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
สมรรถนะ
การพัฒนาตนเองของครู
Development Guidelines
Competency
Self-Development of Teachers
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed 1) to study the current situations and desirable situations of teachers’ competency in self-development under Roi-et primary Educational service area office 1, 2) to develop the guidelines to enhance teachers’ competency in self-development under Roi-et primary Educational service area office 1. The sample of the study was 333 of teachers in schools under Roi-et primary Educational service area office 1. The instruments used were questionnaire and in- depth interview. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and PNImodified. The results of the study revealed that 1. The currents situations of teachers’ competency in self-development under Roi-et primary Educational service area office 1 shown that overall  rated in more level, when considered into each aspect yielded that all aspects rated in more level which consisted of investigative learning, gaining new knowledge related to academic works, construction of knowledge and innovation for development, exploration and self–assessment, sharing opinion and networking among professional community respectively. The desirable situations of teachers’ competency in self-development under Roi-et primary Educational service area office 1 shown that overall  rated in the most level, when considered into each aspect yielded that all aspects rated in the most level which consisted of investigative learning, gaining new knowledge related to academic works, construction of knowledge and innovation for development, exploration and self–assessment, sharing opinion and networking among professional community respectively. 2. The guidelines to enhance teachers’ competency in self-development under Roi-et primary Educational service area office 1 revealed that there were 4 elements and 24 indicators of the guidelines which shown as follows; element 1 was the exploration and self–assessment of teachers consisted of investigation by themselves, using questionnaire, using interview questions, investigation by others and revision. Element 2 was gaining new knowledge related to academic works comprised of investigation knowledge, participation training or seminar, inspecting activities, sharing and exchanging with others. Element 3 was construction of knowledge and innovation for development included proposing the objectives of learning, proposing framework of learning process, originality of the innovation, implementation of the innovation, publishing the innovation, classifying the knowledge and construction of knowledge and innovation. Element 4 was sharing opinion and networking among professional community consisted of studying the literature and related documents, participating the training or seminar, being member of the professional organization, being an operator or participants in the learning process, academic knowledge publishing, being committee and subcommittee of the professional organization and being a speaker in the training or seminar.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2) พัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 333 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง (Modified Priority Needs Index = PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ การสำรวจและประเมินตนเองของครู และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ตามลำดับ และสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ การสำรวจและประเมินตนเองของครู และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ตามลำดับ 2. แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด ดังนี้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การสำรวจและประเมินตนเองของครู ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การสำรวจด้วยตนเอง 2) การใช้แบบสอบถาม 3) การใช้แบบสัมภาษณ์ 4) การให้บุคคลอื่นสำรวจ 5) การแก้ไขปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การศึกษาค้นหาความรู้ 2) การเข้าร่วมอบรม/สัมมนา 3) การศึกษาดูงาน 4) การติดตามข่าวสารด้านวิชาการ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น องค์ประกอบที่ 3 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) การกำหนดกรอบแนวคิดกระบวนการเรียนรู้ 3) การสร้างต้นแบบนวัตกรรม 4) การทดลองใช้นวัตกรรม 5) การเผยแพร่นวัตกรรม 6) การรวบรวมจัดหมวดหมู่ความรู้ 7) การสร้างองค์ความรู้/นวัตกรรม องค์ประกอบที่ 4 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การศึกษาเอกสาร ตำรา และสื่อต่าง ๆ 2) การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาทางวิชาชีพครู 3) การเป็นสมาชิกและการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร 4) การเป็นผู้ดำเนินการหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 5) การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ 6) การเป็นกรรมการ อนุกรรมการหรือคณะทำงานองค์กร 7) การเป็นวิทยากรประชุม อบรม สัมมนา
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1128
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586061.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.