Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1132
Title: The Development of Guideline for Upgrade on Internal Quality Assurance Basic Education for Small Schools under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2
การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
Authors: Watcharin Phumiphak
วัชรินทร์ ภูมิภาค
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Development of Guidelines
Quality Assurance Basic Education
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research were to 1) To study current conditions desirable conditions of insurance work Internal quality of small educational institutions under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 2) Development operational guidelines to improve the internal quality assurance of educational institutions of Small school under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2. This research is research for development consists of 2 phases, phase 1 population and sample consists of executives and teachers responsible for internal quality assurance work from small schools that is not certified by the office certification and assess the quality of education (Public organization) third round schools : 29 Schools, 2 people in each school, a total of 58 people using purposive sampling and phase 2: The group of data providers interviewing school administrators and teachers in small schools under Office of Chaiyaphum Primary Education Area 2 that has best practices regarding internal quality assurance. And assess the appropriateness and feasibility of the operational guidelines to upgrade the insurance Internal quality at basic education level For small schools under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2, by 5 experts using specific selection methods (Purposive Sampling) the tools used include. The results of the research showed that: 1. Questionnaire for current conditions and desirable conditions of quality assurance with in a small school 2. The structured interview form in a study of guidelines for the implementation of the internal quality assurance system for basic education institutions of the school that have excellent practices 3) Assessment forms for evaluating suitability and the possibility of internal quality assurance guidelines. The statistics used in data analysis consist of frequency, percentage, index, consistency, average and standard deviation.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในจากโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบสาม โรงเรียนจำนวน 29 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 58 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ ระยะที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพภายใน และประเมินความเหมาะสมและความเป็นได้ของแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practices) 3) แบบประเมินสำหรับใช้ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 ประกอบด้วย 1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงประกาศใช้ 2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 3. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4. การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5. ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา และนำผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา 6.การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และ 7. พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) และตามคำแนะนำของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1132
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586068.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.