Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1173
Title: Development of Mathematics Learning Activities on  Series for Mathayomsuksa 6 Based on Student Team Achievement Devision (STAD) Cooperative with Electronic Media
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Authors: Charat Pilert
จรัส พิเลิศ
Maliwan Tunapan
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Mathematics learning activities
Collaborative learning
STAD techniques
Electronic media
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective of this research is 1) To develop sequencing learning activities for Mathayomsuksa 6 students using STAD technique with electronic media to be effective according to the criteria 75/75. 2) To study the index of effectiveness of the learning management plan of Mathayomsuksa 6 students using collaborative learning , STAD techniques, and electronic media. 3) To compare the mathematics achievement on the sequence of Mathayomsuksa 6 students using collaborative learning, STAD techniques, and electronic media with students who receive regular learning management. 4) To study satisfaction towards organizing cooperative learning activities with STAD techniques in conjunction with the use of electronic media on sequence of Mathayomsuksa 6 students. The sample group used in this research was 36 students in  Mathayomsuksa 6/3  and 34 students in Mathayomsuksa 6/4, Semester 2, Academic Year 2020, Chumpon Wittayasan School,  Chumphon Buri District,  Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 33  was obtained from cluster random sampling. The research tools were learning management plan by collaborative learning, STAD technique, and electronic media. Normal learning management plans. The results were found that 1) a learning activity plan using collaborative learning, STAD techniques, and the use of electronic media, The students had the efficiency of 80.98 / 80.09 which met the criteria set out. 2) The effectiveness index of the learning activities using cooperative learning, STAD techniques, and electronic media is 0.6906 or 69.06% 3) The students who received the learning management using the STAD technique together with the use of electronic media have higher mathematical achievement in the subject matter than the normal learning students.  4) Student satisfaction with STAD technique collaborative learning activities in combination with electronic media on the sequence of Mathayomsuksa 6 students equal to 4.68, which means all students were satisfied, student teams achievement division (STAD) in conjunction with the use of electronic media at the most satisfactory level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 จำนวน 36 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้       ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลำดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ  80.98/80.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลำดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6906 คิดเป็นร้อยละ 69.06 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1173
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010283002.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.