Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1174
Title: Development of Mathematics Skill Exercises using KWDL Technique to Enhance Problem Solving Ability on Percentage for Prathomsuksa 5 Students
การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Yuwadee Srisung
ยุวดี ศรีสังข์
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เทคนิค KWDL
ความสามารถในการแก้ปัญหา
Mathematics Skill Exercises
KWDL Technique
Problem Solving Ability
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the research were to; 1) develop mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage for Prathomsuksa 5 students with an efficiency of 75/75, 2) study effectiveness index of mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage for Prathomsuksa 5 students, 3) compare the learning achievements between before and after learning of Prathomsuksa 5 students learning based on the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage, 4) compare mathematic problem solving performance between before and after learning of Prathomsuksa 5 students learning based on the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage, 5) study mathematic problem solving performance of Prathomsuksa 5 students learning based on the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage, and 6) explore satisfaction of Prathomsuksa 5 students learning based on the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage. The samples used in the study were 14 Prathomsuksa 5 students studied in semester 2, academic year 2019, at Banlahanapirakwittaya School, obtained using the cluster random sampling technique. The research instruments consisted of the 6 mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage, 18 lesson plans on percentage, multiple choice achievement test with the reliability of 0.93, mathematics problem solving test on percentage with the reliability of 0.96, and a rating scale questionnaire on students’ satisfaction with reliability of 0.93. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, percentage,  E1 / E2 , E.I., t-test (Dependent Samples) and z-test (Population Proportion). The results of the study indicated that: 1) the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage for Prathomsuksa 5 students had an efficiency of 80.69/78.10, which was higher than the criterion, 2) the mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability on percentage for Prathomsuksa 5 students had the effectiveness index of 0.6806, which meant that students had 68.06 percent of learning progressiveness, 3) the students learning based on mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability showed gains in learning achievement from before learning at the .01 level of significance, 4) the students learning based on mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability showed gains in mathematics problem solving from before learning at the .01 level of significance, 5) more than 70 percent of the students learning based on mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability passed the 70 percent of established criterion at the .05 level of significance, and also 6) the students learning based on mathematics skill exercises using KWDL technique to enhance problem solving ability showed gain in satisfactory on learning at highest level (Average = 4.77, S.D. = 0.41).
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ 5) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ และ 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 5/1 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 14 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านละหาน (อภิรักษ์วิทยา) ตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยละ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละ เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96  และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เรื่อง ร้อยละ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ประสิทธิภาพ (E1 / E2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) t-test (Dependent Samples) และ z-test (Population Proportion) ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 80.69/78.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6806 แสดงว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6806 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.06 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 6. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77, S.D. = 0.41)
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1174
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010283008.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.