Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/118
Title: Developtment of Promotion Process for ARV Access in Sexual Partners of HIV Infected Patients
การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัสของคู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Authors: Aroon Sittiprapaporn
อรุณ  สิทธิประภาพร
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การเข้าถึงยา
ยาต้านไวรัส
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
คู่นอน
การเปิดเผยสถานะการติดเชื้อ
ความร่วมมือในการใช้ยา
ARV access
Sexual partner
HIV infected patient
disclosure
drug compliance
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: HIV/AIDS, a sexually transmitted infection (STI), is a global public health problem. It is not curable but treatable. Access to antiretroviral drugs (ARV) as soon as the diagnosis is made can slow the progression of this disease. “Test and Treat Models” is WHO recommended strategy with the target indicators of 90-90-90 in 2020 leading to stop AIDS in 2030. This action research aimed to develop the process for promoting ARV access in sexual partners of HIV infected patients by the participation of multidisciplinary team and HIV infected patients in HIV care clinic at Phonthong Hospital Roi-et Province, Thailand. This team composed of physician, pharmacist and registered nurse. Three stages of process development, in first stage of planning, two focus group discussions were done for setting the process. First group discussion was run by 6 experts in counseling. Second discussion was performed by 5 HIV infected patients. The second stage was acting and observing, the planned process protocol was implemented by a team of HIV care clinic in 5 months during June and October, 2018 participants were 81 HIV infected patients and 81 of their sexual partners. Third stage was reflecting after process implementation, focus group discussion was run by 3 practitioners of the HIV clinic.   The results showed that in the first stage, 3 practical protocols with 6 steps of promoting ARV access in sexual partners of HIV infected patients were initiated. In the second stage, the results were 1) six (42.86%) of HIV infected patients had willingly disclosure their HIV status to their sexual partners 2) eight from 31 sexual partners (25.81%) of HIV infected patients had diagnosed with HIV testing 3) five from 7 sexual partners (71.43%) of HIV infected patients accessed ARV 4) all five of sexual partner with ARV (100%) have knowledge on HIV and its treatment and willingly have complied to ARV. The third of reflecting stage, practitioners in HIV care clinic and adjusted and added more step of protocol to coverage more risk group. This step made five of sexual partners of HIV infected patients with negative HIV testing more than 1 year have HIV repeat tested (13.16%).   This study was concluded that the development of promoting process for ARV access in sexual partners of HIV infected patients by the multidisciplinary team with the participation of HIV infected patients initiated the practical protocol that be able to support HIV infected patients for HIV-infected status disclosure, to promote the increase of HIV diagnosis in sexual partners, ARV access, ARV compliance, and repeated HIV testing in sexual partners of HIV infected patients and sexual partners who had negative HIV testing in the past, will be repeat tested. Moreover it could significantly enhance the knowledge in HIV disease and ARV use in sexual partners. HIV status disclosure with sexual partner should be policy implementation for stop HIV transmission.   
โรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก  แม้ในปัจจุบัน โรคจะไม่หายขาด  แต่สามารถรักษาอาการได้ การเข้าถึงยาต้านไวรัสทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย จะช่วยลดพัฒนาการของโรคได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอแนวทางในการรักษา ภายใต้กลยุทธ์ “Test and Treat Models” เร่งรัดให้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 90-90-90 ในปี ค.ศ.2020  เพื่อนำไปสู่การยุติเอดส์ ในปี ค.ศ.2030 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการ ส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัสของคู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยความร่วมมือของสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อของตนต่อคู่นอน คู่นอนได้รับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ได้เข้าถึงยาต้านไวรัส ได้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อเอชไอวีและการรักษา ให้ความร่วมมือในการรักษา ด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตรวจวินิจฉัยซ้ำ ในกรณีที่เคยมีผลการตรวจวินิจฉัยเป็นลบ มาเป็นเวลา  ≥ 1 ปี การพัฒนามี 3 ระยะ คือ  1.ระยะการวางแผน (Planning) 2.ระยะการลงมือกระทำ (Acting) และการสังเกต (Observing) และ 3.ระยะการสะท้อน (Reflecting) ระยะที่ 1 เป็นการสร้างแนวปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 2 ครั้ง ในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากรสุขภาพผู้มีความรู้และประสบการณ์ ในการให้คำปรึกษาด้านคลินิก จำนวน 6 คน และ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่คู่นอนเข้าถึงยาต้านไวรัสสำเร็จแล้ว จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่กำหนด ระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างเดือน มิถุนายน – ตุลาคม พ.ศ.2561 ดำเนินการโดยทีมสหวิชาชีพ ประจำคลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่นอน จำนวน 81 คน และคู่นอนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 81 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้า ระยะที่ 3 เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานจากระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น โดยกระบวนการสนทนากลุ่ม ในกลุ่มตัวอย่างคือ ทีมสหวิชาชีพประจำคลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาตามระยะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่า ระยะที่ 1 เกิดการสร้าง 3 แนวปฏิบัติ 6 ขั้นตอน คือ ให้การปรึกษาเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเปิดเผยสถานะ การติดเชื้อต่อคู่นอนของตน ให้การปรึกษาเพื่อให้คู่นอนของผู้ติดเชื้อ ที่ยังไม่เคยรับการตรวจวินิจฉัยเอชไอวีให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสในคู่นอนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีผลการตรวจวินิจฉัยเป็นบวก ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีและการรักษาให้การติดตามความร่วมมือ ในการรักษา และให้การปรึกษาเพื่อให้คู่นอนของผู้ติดเชื้อที่มีผลการตรวจวินิจฉัยเอชไอวี  เป็นลบ มาเป็นเวลา  ≥ 1 ปี ให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยเอชไอวีซ้ำ ระยะที่ 2 เกิดผลลัพธ์จากการดำเนินการตามแนวปฏิบัติ  คือ 1) ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เปิดเผยสถานะการติดเชื้อต่อคู่นอนของตนจำนวนเพิ่มขึ้น 6 คน (ร้อยละ 42.86) 2) ทำให้มีคู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยเอชไอวี ได้รับการตรวจวินิจฉัยจำนวนเพิ่มขึ้น จำนวน 8 คน (ร้อยละ 25.81) 3) ทำให้คู่นอนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น จำนวน 5 คน (ร้อยละ 71.43) 4) ทำให้คู่นอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี และการรักษาเพิ่มขึ้น และมีความยินดีให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาต้านไวรัส อย่างต่อเนื่อง ทั้ง 5 คน (ร้อยละ 100) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้คู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เคยมีผลการตรวจวินิจฉัยเอชไอวีเป็นลบ มาเป็นเวลา ≥ 1 ปี ได้รับการตรวจวินิจฉัยซ้ำเพิ่มขึ้น จำนวน 3 คน (ร้อยละ 10.34) ระยะที่ 3 เกิดการปรับปรุงแนวปฏิบัติ เพื่อให้มีความครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างยิ่งขึ้น คือ กลุ่มคู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เคยมีผลการตรวจวินิจฉัยเป็นบวกมาเป็นเวลา ≥ 1 ปี ทำให้เข้าสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัยซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น 5 คน (ร้อยละ 13.16) การศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัส ของคู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้เกิดแนวปฏิบัติ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเปิดเผยสถานะการติดเชื้อต่อคู่นอนของตนเพิ่มขึ้น คู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มขึ้น เข้าถึงการรักษา ด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี และการรักษาเพิ่มขึ้น ให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และทำให้คู่นอนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เคยมีผลการตรวจวินิจฉัยเอชไอวีเป็นลบ ≥ 1 ปี ได้รับการตรวจวินิจฉัยซ้ำ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ให้การเปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวีแก่คู่นอน ของผู้ติดเชื้อเป็นนโยบายเพื่อลดโอกาสแพรากระจายเชื้อ และนำไปสู่การยุติเอดส์ต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/118
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010781015.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.