Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/119
Title: Development of a Screening Tool for Prediction the Risk of Leftover Medicines  in Diabetic Patients Who take Oral Diabetic Medications
การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงในการมียาเหลือใช้ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทาน
Authors: Patra Phulthong
ภัทรา พูลทอง
Parimoke Kerdchantuk
ปาริโมก เกิดจันทึก
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: ยาเหลือใช้
แบบคัดกรอง
ผู้ป่วยเบาหวาน
ยาเบาหวานชนิดรับประทาน
Leftover medicines
Screening form
Diabetes patient
Oral hypoglycemic agents
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: There are many studies that have found that leftover medicines or oversupplies of prescribed medications, which is associated with high cost and hospitalization risk. Especially in patients with chronic diseases. In Thailand, there have not a screening tools for predict leftover medicines. The aim of the present study was to develop the screening questionnaires in diabetic patients who are at risk of having the leftover medicines by using Logistic Regression. Study on 800 diabetic patients who take oral diabetic medications at diabetic clinic in Sirindhorn Hospital and Sub-district Health Promoting Hospital in Sirindhorn district, Ubon Ratchathani. The researchers collected the data by interviewing, and survey of leftover medications problem through returning medications during July 2016- December 2016. The medication possession ratio (MPR) was used to determine leftover medicines, Patients having MPR>1.20 were defined as receiving a leftover medicines. The result show the prevalence of leftover medicine was of 22.38% of all samples . Main causes of leftover medicines was patients non-compliance. By using Binary Logistic Regression to analyses, found 3 statistical significance factors that related to the leftover medicines which were alcohol consumption history (OR: 1.866; 95%CI: 1.294-2.689), marital status single, divorced or separated (OR: 1.826; 95%CI: 1.204-2.768) and pill count more than 5 pills per day (OR: 1.601; 95%CI: 1.079-2.375) increased the risk of having leftover medicines. The screening questionnaires in Diabetic Patients who are at risk of having the leftover medicines were developed from these factors. This questionnaires contain 0-8 score. Those who had more than or equal 3 scores were at risk of having the leftover medicines. The sensitivity of this developed questionnaires is 49.72 %. Specificity is 65.05 % and ROC curve is 60.4% (95%CI, 55.6-65.1). The developed screening questionnaires in Diabetic Patients who are at risk of having the leftover medicines is recommended to use on patients screening for medicines use counseling process to reduce the problem of medication in diabetic patients.
ปัญหาการมียาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยา และอัตราการนอนโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น ที่ผ่านมามีการสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการเกิดยาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานแต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นแบบคัดกรองเพื่อให้สะดวกในการนำมาใช้งาน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาแบบสอบถามคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโอกาสเกิดยาเหลือใช้จากสมการถดถอยโลจิสติก การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวางเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวานชนิดเม็ด รับการรักษาที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสิรินธร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสิรินธร จำนวนทั้งสิ้น 800 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2559 เก็บข้อมูลยาเหลือใช้จากยาที่ผู้ป่วยนำมาคืนโรงพยาบาล โดยนับเฉพาะยาชนิดเม็ดรักษาโรคเบาหวาน ได้แก่ Metformin และ Glipizide ที่มีจำนวนเหลือภายหลังจากการหักลบจากปริมาณยาที่พอเพียงสำหรับการใช้จนถึงวันนัดครั้งถัดไป นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณเป็นค่า Medication possession ratio (MPR) กำหนดให้ค่า MPR > 1.20 ถือว่ามียาเหลือใช้ โดยค่า MPR สามารถคำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของจำนวนวันที่ได้รับยาของยาโรคเรื้อรังทุกรายการหารด้วยจำนวนวันที่ต้องใช้ยา โดยจำนวนวันที่ต้องใช้ยาจะนับตั้งแต่วันนัดที่ผู้ป่วยมียาเหลือใช้จนถึงวันนัดครั้งล่าสุดที่ทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.34 ± 10.03 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีรายได้ระหว่าง 1,000-6,000 บาทต่อเดือน เป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป มีโรคร่วมอย่างน้อย 1 โรค และระดับ FBS เฉลี่ย 154.08 ± 37.07 มิลลิกรัม/เดซิลิตร พบผู้ป่วยเบาหวานที่มียาเหลือใช้ทั้งหมด 179 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.38 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สาเหตุของการมียาเหลือใช้ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย โดยสาเหตุที่พบมากที่สุด คือ ใช้ยาน้อยกว่าจำนวนครั้งที่แพทย์สั่ง คิดเป็นร้อยละ 43.40 สอดคล้องกับการกำหนดนิยามความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของหลายๆ การศึกษา คือ การใช้ยาน้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนยาทั้งหมดซึ่งตรงกับนิยามของการมียาเหลือใช้ในการศึกษานี้ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าสาเหตุสำคัญของการมียาเหลือใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา จากการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย binary logistic regression พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมียาเหลือใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีทั้งสิ้น 3 ปัจจัย ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติดื่มสุรา/เคยดื่มสุราเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มสุราจะมีโอกาสมียาเหลือใช้เพิ่มขึ้น 1.866 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI: 1.294-2.689, p = 0.001), สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าจะมีโอกาสมียาเหลือใช้เพิ่มขึ้น 1.826 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI: 1.204-2.768, p = 0.005) และผู้ที่ได้รับประทานยามากกว่า 5 เม็ดต่อวันจะมีโอกาสมียาเหลือใช้เพิ่มขึ้น 1.601 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI: 1.079-2.375, p = 0.019) นำปัจจัยที่ได้มาพัฒนาเป็นแบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงการมียาเหลือใช้ ได้แบบสอบถามที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0-8 คะแนน และผู้ที่มีคะแนนตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงที่จะมียาเหลือใช้ แบบสอบถามที่พัฒนาได้มีค่าความไวเท่ากับร้อยละ 49.72, ค่าความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 65.05 และค่าพื้นที่ใต้กราฟ (Receiver Operating Characteristic (ROC) curve) เท่ากับร้อยละ 60.4  (95%CI = 55.6-65.1) จากผลการศึกษาข้างต้นแบบสอบถามคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโอกาสเกิดยาเหลือใช้ที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ในการนำไปใช้คัดกรองผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่กระบวนการให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องการใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดยาเหลือใช้โดยเฉพาะจากสาเหตุของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยได้
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/119
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010780009.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.