Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1203
Title: | The Problems of Entrance to the Monastic Honorary Ranks and the Ecclesiastical Administrative Positions of Monks in Loei Province ปัญหาการเข้าสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเลย |
Authors: | Thanawat Yotajan (Priyatamatree) ธนวัฒน์ โยธาจันทร์ (ปริยตฺติเมธี) Vinai Poncharoen วินัย ผลเจริญ Mahasarakham University. The College of Politics and Governance |
Keywords: | สมณศักดิ์ ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ ปัญหา Monastic Honorary Ranks Ecclesiastical Administrative Positions Problems |
Issue Date: | 9 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of the research were (1) to study problems of entrance to the monastic honorary ranks and the ecclesiastical administrative positions of monks in Loei province, and (2) to study recommendations on entrance to the monastic honorary ranks and the ecclesiastical administrative positions of monks in Loei province. Key informants for the research were fifteen ecclesiastical administrative monks (Sanghadhikara) and officials working in the ecclesiastical administrative district in Loei province, selected by the purposive sampling method. The instrument used for data collection was the open-end semi-structured questionnaire.
The findings of the research were as follows:
1. The problems of entrance to the monastic honorary ranks and the ecclesiastical administrative positions of monks in Loei province were given rise to (1) such strict regulations as non-flexibility on the monk’s age and ordination years, and the limited amount of monastic honorary ranks, (2) the applicant’s unavailability of knowledge and experience like absence of plans in advance, which were continued at least several years, (3) unequal development of temples or different readiness of temples because a lump sum of money was spent on support of construction and renovation of temples and the public welfare (4) a spoils system or patronage system and intervention of the government because the monks had to be familiar with senior monks for their perception. In addition, there was a system of position allocation, resulted from bustle by money or the government’s intervention, and (5) power centralization because the appointment of the monastic honorary ranks was let senior administrative monks to have too more power. As a result, the applicants of monastic honorary ranks attempted to find their way to be intimate and close to powerful senior monks in various formations.
2. The problems of entrance to the monastic honorary ranks and the ecclesiastical administrative positions of monks in Loei province were given rise to (1) absence of knowledge based on approaches and plans in advance, which was given rise to absence of preparation for the monastic administrative position entrance, (2) the qualifications of the applicants like age, ordination years, the number of monks and novices in the temples, the academic standing of monks and novices in the temples, and a lump sum of charitable contributions, (3) a patronage system and intervention of the government, including illegal bustle for the ecclesiastical administrative ranks and intervention of the state or the government’s authorities, and (4) the beneficial loss of some groups of local people. The eccleciastical administrative rank of a certain monk was even agreed by all levels of senior administrative monks, but if villages or local people did not agree with them, there had to be any problem.
3. Recommendations on entrance to the ecclesiastical ranks of monks in Loei province were (1) to develop themselves with knowledge and competence, and (2) to equip themselves with good behaviours, to assist the community and to instill faithfulness and believability in the Buddhists.
4. Recommendations on entrance to the authoritative ranks of monks in Loei province were (1) to understand regulations and rules and comprehend procedures and customs, and (2) to sacrifice and pay attention to the monk council regularly.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการเข้าสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการเข้าสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเลย ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพระสังฆาธิการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเลย จำนวน 15 รูป/คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured) มีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัญหาการเข้าสู่สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์จังหวัดเลย เกิดจาก 1) การกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด เช่น ไม่มีการยืดหยุ่นด้านอายุและพรรษา ประกอบกับจำนวนอัตราสมณศักดิ์ที่มีน้อย 2) การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ขอ เช่น ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าทำให้ไม่มีผลงาน ซึ่งต้องกระทำต่อเนื่องหลายปี 3) ขนาดของวัดที่มีการพัฒนาไม่เท่ากัน หรือความพร้อมของวัดที่แตกต่างกัน เนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากในการส่งเสริมด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์ 4) ระบบอุปถัมภ์และการแทรกแซงโดยรัฐ พระสงฆ์จะต้องสร้างความคุ้นเคยกับพระผู้ใหญ่ เพื่อให้ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีระบบการจัดสรรตำแหน่ง ซึ่งอาจเกิดการวิ่งเต้นใช้เงิน หรืออาจมีการแทรกแซงโดยรัฐ และ 5) การรวมศูนย์อำนาจ กระบวนการแต่งตั้งสมณศักดิ์เปิดช่องว่างให้อำนาจแก่เจ้าคณะปกครองมากเกินไป ทำให้ผู้เสนอขอสมณศักดิ์พยายามหาช่องทางที่จะทำให้เกิดความใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจผ่านรูปแบบต่างๆ ได้ 2. ปัญหาในการเข้าสู่ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเลย เกิดจาก 1) การขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง ขาดการวางแผนอนาคตส่งผลให้ไม่มีการเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ตำแหน่งทางการปกครอง 2) การขาดคุณสมบัติ เช่น มีอายุพรรษาน้อย มีจำนวนพระภิกษุและสามเณรในวัดไม่ครบตามเกณฑ์ พระสงฆ์และสามเณรที่อยู่ในความปกครองไม่มีวิทยฐานะ และมียอดการบริจาคน้อย 3) ระบบอุปถัมภ์และการแทรกแซงโดยรัฐ มีการใช้เส้นสายหรือการวิ่งเต้นเพื่อให้ได้ตำแหน่งมาโดยมิชอบ รวมถึงการแทรกแซงจากรัฐหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง และ 4) การเสียผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มในพื้นที่ แม้คณะสงฆ์ในระดับเจ้าคณะผู้ปกครองทุกระดับชั้นเห็นชอบ แต่ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ไม่เห็นชอบย่อมเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน 3. ข้อเสนอแนะการเข้าสู่สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์จังหวัดเลย ได้แก่ 1) การพัฒนาตนให้มีความรู้ความสามารถ และ 2) การมีวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ช่วยเหลือชุมชน และสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชน 4. ข้อเสนอแนะการเข้าสู่ตำแหน่งทางการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดเลย ได้แก่ 1) เข้าใจระเบียบกฎเกณฑ์ และทราบถึงขั้นตอน ธรรมเนียมการปฏิบัติ และ 2) มีความเสียสละ เอาใจใส่ในงานคณะสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ |
Description: | Master of Political Science (M.Pol.Sc.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1203 |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011380010.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.