Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1205
Title: | Creating reconciliation after the election: Case Study of the election of village headmen Stuk District, Buriram Province การสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษา การเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ |
Authors: | Sakda Chaokla ศักดิ์ดา ชาวกล้า Alongkorn Akkasaeng อลงกรณ์ อรรคแสง Mahasarakham University. The College of Politics and Governance |
Keywords: | ความปรองดองสมานฉันท์ การเลือกผู้ใหญ่บ้าน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ reconciliation election village headman Stuk district Buriram province |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of the study on the reconciliation after the village headman election with a case study of the village headman election in Stuk district, Buriram province were: (1) to study the situations and conditions of the conflict that occurred after the village headman election in Stuk district, Buriram province, and (2) to study the process and ways to develop the reconciliation after the village headman election in Stuk district, Buriram province in accordance with the theories of conflict and reconciliation. This study was a qualitative study with the interviews of 42 informants including 2 candidates of the village headman election, 2 relatives of the candidates, 6 representatives of the voters, 1 representative from the Stuk District Office, 1 police officer, 1 officer from the local government administration, and 1 representative of the Office of the Permanent Secretary for Defence and these 14 informants were representatives in each study area. Since the study area was divided in 3 areas including district municipality, sub-district municipality, and sub-district administrative areas, the sample size of this study was a total of 42 informants.
The results showed that:
1. Most participants experienced with the conflicts in terms of disengaging in the activities or programs in the village, the finding the others’ faults and requesting the village headman’s performance, and also conducting vituperative violence.
2. The characteristics of the conflict occurred after the village headman election in Stuk district, Buriram province between 2016 and 2018 were divided into three groups including the conflicts of only among the village headmen candidates, the conflicts between the village headman candidates and the relatives of other candidates, the conflicts of only among the relatives of the village headman candidates.
3. When the conflicts already occurred, its effects highly happened to the village and negatively influenced the villagers to cause the conflict, the reduction of harmony and the difficulty of the officers to perform some activities in the village. Therefore, the village conditions were difficultly enhanced.
4. The causes of the conflict were from three different sources including personal-related, work-related, and position-related sources.
5. Most participants experienced with the solutions of local conflicts in terms of engagement in dealing with the conflicts and creating the harmony under the performance of the government as the key organization.
6. The guideline of the reconciliation to solve the problems of the conflicts occurred after the village headman election in Stuk district, Buriram province between 2016 and 2018 consisted of three ways: (1) the ways of mental retreatment, i.e., the understanding of the occurred events, the utilization of local resources and the retreatment with the creation of new things, (2) the ways of communication, i.e., the process of telling true stories, and (3) the ways of the mental and emotional management, i.e., the implementation of religious and believe concepts as the tools.
7. The guideline of the development of reconciliation after the village headman election in Stuk district, Buriram province to eliminate the local conflicts could be divided into two components, i.e., the creation of role models and the disclosure to public for the learning purposes
The recommendations derived from this study were:
1. The government organization should play the major role as the coordinator of the reconciliation to increase the knowledge and the understanding, provide the advices to solve the conflicts and also educate the villagers about the importance of the democracy.
2. The sub-district headman and village committees should give opportunities to the villagers to participate in the creation of reconciliation in the village.
3. The successful guidelines of the reconciliation after the village headman election should be further applied to other areas with the conflicts after the village headman election.
4. The connectivity and coordination of the reconciliation should be promoted to solve the conflicts of all relatives and the village headman candidates. การศึกษาการสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปรากฏการณ์และลักษณะของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อศึกษากระบวนการและแนวทางพัฒนาของการสร้างการปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านพื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีความขัดแย้งและทฤษฎีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 42 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างจากชุมชน เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกผู้ใหญ่บ้าน คือ ผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 2 คน ญาติผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 2 คน และตัวแทนราษฎรที่มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 6 คน และกลุ่มตัวอย่างจากหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในพื้นที่ คือ ตัวแทนจากอำเภอ จำนวน 1 คน ตัวแทนจากตำรวจในพื้นที่ จำนวน 1 คน ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จำนวน 1 คน และตัวแทนจากหน่วยงานทหารในพื้นที่ จำนวน 1 คน ทั้งนี้ จะได้จำนวนผู้ให้ข้อมูลต่อหนึ่งพื้นที่ศึกษา ทั้งสิ้น 14 คน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 พื้นที่ (เขตในเมือง/เขตเทศบาลตำบล/เขต อบต.) ดังนั้น จึงได้ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 42 คน จากผลการศึกษาพบว่า 1. ส่วนใหญ่เคยพบเห็นการเกิดขึ้นของความขัดแย้งในพื้นที่ ในลักษณะของการไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของหมู่บ้าน การคอยจ้องจับผิดและร้องเรียนการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน รวมไปการใช้ความรุนแรงในการทะเลาะวิวาท 2. ลักษณะของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกผู้ใหญ่บ้านพื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ในห้วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 นั้น มีทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง กลุ่มที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างญาติของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านกับตัวผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านอีกฝ่าย และกลุ่มที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างญาติๆ หรือกลุ่มพรรคพวกของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง 3. หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เกิดผลเสียต่อคนในหมู่บ้าน ชาวบ้านเกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคีกัน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้านนั้นเกิดความยากลำบาก การพัฒนาหมู่บ้านจึงสามารถดำเนินการได้ยาก 4. สาเหตุของความขัดแย้ง มี 3 ลักษณะ คือ การมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว สาเหตุมาจากเรื่องการทำงาน และสาเหตุมาจากการแย่งชิงตำแหน่ง 5. ส่วนใหญ่เคยพบเห็นการเกิดขึ้นของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ในลักษณะของการเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคี โดยหน่วยงานของรัฐเป็นหน่วยงานหลัก 6. แนวทางกระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในห้วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 มี 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การเยียวยาทางจิตใจ ประกอบด้วย (1) การทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (2) การใช้ทรัพยากรถิ่น (3) การเยียวยาคู่กับการสร้างสิ่งใหม่ร่วมกัน แนวทางที่ 2 การสานเสวนา ประกอบด้วย วิธีการเล่าความจริง และแนวทางที่ 3 การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของคน ประกอบด้วย การใช้ศาสนาและความเชื่อเป็นเครื่องมือ 7. แนวทางในการพัฒนาการสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านพื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อไม่ให้มีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การทำให้เป็นต้นแบบ และ (2) การเผยแพร่แนวทางเพื่อการศึกษา ข้อเสนอแนะ 1. ผู้วิจัยเห็นว่าในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งควรให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์มาเป็นผู้ประสานให้ความรู้ ทำความเข้าใจและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และควรเข้ามาให้ความรู้แก่ชาวบ้านในเรื่องของวิถีการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีการปลูกฝังอย่างจริงจัง 2. ควรเปิดโอกาสให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชนจากกลุ่มต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นกับคนในหมู่บ้าน โดยบทบาทของกำนัน คณะกรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้านในหมู่บ้าน 3. นำแนวทางการสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้าน แนวทางที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์และปรับใช้ในพื้นที่ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งหลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านต่อไป 4. ควรมีการเชื่อมโยงและประสานการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นกับญาติหรือกลุ่มของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านที่ขัดแย้งกันเองด้วย เพราะบางครั้งเป็นความขัดแย้งระหว่างญาติหรือกลุ่มของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านกับผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วย |
Description: | Master of Political Science (M.Pol.Sc.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1205 |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011380016.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.