Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1228
Title: Work Improvement of Employees in Mahasarakham Provincial Public Health Office, Using Ergonomic Risk Assessment
การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
Authors: Wipada Kongsong
วิภาดา คงทรง
Warapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: กระบวนการปรับปรุงสภาพงาน
การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์
การยศาสตร์
improvement in working conditions
ergonomic principles
ergonomics
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study the process of improvement in working conditions by applying ergonomic principles for the staff of Mahasarakham Provincial Public Health Office. The samples were the staff of Mahasarakham Provincial Public Health Office. A total of 30 staff was selected using a purposive sampling method. These samples consisted of 11 staff from the Human Resource Management Division, 14 staff from the Public Health Strategic Development Division, and 5 staff from the Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine Division. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, mean, percentage, standard deviation (SD), and inferential statistic such as Paired t-test, while content analysis was used to analyze the qualitative data. The results of the study showed that the context of computer-related office work was likely to be harmful due to ergonomic risks. Before implementing the interventions, 50% of the participants experienced high risk of ergonomics regarding computer-related office tasks (Rapid Office Strain Assessment :ROSA), the mean satisfaction score of ergonomic working conditions was at a low level of 2.57, and the mean participation score in improvement in working conditions by applying ergonomic principles was at a moderate level of 2.24. During a participatory workshop to establish an action plan, the participants examined problems of working conditions and found that regarding working postures, the staff could not recognize the meaning of improvement in working conditions by applying ergonomic principles and could not be aware of whether they performed with the right working conditions. Regarding workstations, there was no assessment of working conditions, working environment, and working postures. Also, in term of the administration of computer-related tasks, long and continuous sitting at a computer causes muscle pain, and there was no clear guideline for the practice. The participants proposed solutions for the problems and arranged activities for improving working conditions. The activities included: 1) educating about improving in working conditions by applying ergonomic principles, 2) improving in working conditions and practicing in performing right postures during working with a computer and documents, 3) educating about exercise and body stretches for workers, 4) educating about safety guidelines for computer and paper-related jobs. The participants significantly played attention on the activities, provided opinions, and asked questions over the period of training. After the interventions, 100% of ergonomic risks stayed at a low level, the mean satisfaction score in ergonomic working conditions was at the highest level of 4.42. Besides, the mean satisfaction score in ergonomic working conditions between before and after the intervention was significantly different at 0.05 level. Also, the mean participation score in improvement in working conditions using ergonomic principles was 2.58, represented as a high level. When distributing the Paired T-Test frequency, there was a significant difference in the mean participation score in improving in working conditions based on ergonomic concepts between before and after the intervention at 0.05 level. Considering each dimension, there was a significant difference in the mean participation score regarding the operations and receiving benefits between before and after the intervention at 0.05 level. The lesson learned, and knowledge sharing conference contributed a guideline for improvement in working conditions adhering ergonomic principles. Factors for success included: 1) the risk assessment information on ergonomics in office work was used for exploring ergonomic-related problems at work, 2) the action plan was produced from the participation of the participants in raising the issues, analyzed problems, proposed the solutions, and decided on selecting solution strategies, 3) the participants were a part of working condition improvement following the action plan with efficient communication and good relationship among the numbers of the participants’ division, 4) the participants adhered the safety guidelines for computer and document-related work, and 5) the operations were monitored, evaluated, and performed the lesson learned in working condition improvement based on ergonomic principles. In sum, improvement in working conditions adhering ergonomic principle lowered the risks of ergonomics at workstations, increased satisfaction of ergonomic working conditions, and increased participation in the operations on improvement in working condition using ergonomic principles.
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 11 คน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข จำนวน 14 คน และกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired T-Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บริบทการทำงานมีลักษณะงานสำนักงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ มีแนวโน้มของอันตรายจากความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ก่อนการวิจัย พบว่า ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานสำนักงาน (Rapid Office Strain Assessment :ROSA) ร้อยละ 50.00 มีความเสี่ยงสูง ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 2.57 อยู่ในระดับน้อย การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 2.24 อยู่ในระดับปานกลาง จากการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการ ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสภาพการทำงานร่วมกัน พบว่า ด้านท่าทางการทำงาน บุคลากรไม่ทราบว่าการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการศาสตร์คืออะไรและไม่ทราบว่าลักษณะงานที่ทำถูกต้องหรือไม่ ด้านสถานีงาน ยังไม่มีการประเมินสภาพการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม ด้านการบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ นั่งทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและต่อเนื่องทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและยังไม่มีคู่มือแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและจัดกิจกรรมการปรับปรุงสภาพงาน ได้แก่ 1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการศาสตร์ 2) กิจกรรมการปรับปรุงสภาพงานและฝึกปฏิบัติท่าทางการทำงานคอมพิวเตอร์และงานเอกสารที่ถูกต้อง 3) กิจกรรมให้ความรู้การออกกำลังกายและกายบริหารสำหรับคนทำงาน 4) กิจกรรมให้ความรู้คู่มือความปลอดภัยในการทำงานคอมพิวเตอร์และงานเอกสาร ผู้ร่วมวิจัยให้ความสนใจมีส่วนร่วมโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น และสอบถามตลอดการอบรม หลังการวิจัย พบว่า ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ร้อยละ 100.00 อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 4.42 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแจกแจงความถี่ Paired T-Test มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์ก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ ค่าเฉลี่ย 2.58 อยู่ในระดับมาก เมื่อแจกแจงความถี่ Paired T-Test มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จากการประชุมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานทำให้ได้แนวทางในการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ 1) มีการนำข้อมูลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานสำนักงานมาเป็นข้อมูลประกอบในการค้นหาปัญหาด้านการยศาสตร์ในการทำงาน 2) มีแผนงานกิจกรรมที่เกิดจากผู้ร่วมวิจัยร่วมสรุปประเด็น วิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางแก้ไข ตลอดจนร่วมตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา 3) การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพงานตามแผนงานกิจกรรม ซึ่งมีการสื่อสารที่มีศักยภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกันในกลุ่มงานของผู้ร่วมวิจัย 4) มีแนวทางปฏิบัติโดยยึดคู่มือความปลอดภัยในการทำงานคอมพิวเตอร์และงานเอกสาร และ5) มีการติดตามการดำเนินงาน สรุปผล และถอดบทเรียนการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ สรุปผลการวิจัย การปรับปรุงสภาพงานโดยการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ทำให้ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานสำนักงานลดลง ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์เพิ่มขึ้น และระดับการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์เพิ่มขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1228
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011480007.pdf11.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.