Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1236
Title: Traditional Ecological Knowledge and Local Curriculum Management by Community Participation Approach
ความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมกับการจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Authors: Peerachai Vonglert
พีรชัย  วงษ์เลิศ
Chainarong Sretthachau
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การจัดการศึกษา
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ความรู้ท้องถิ่น
สิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม
Education Management
Community Involvement
Local Knowledge
Cultural Environment
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research are as followings; First, to analyze local study in scientific aspect of Ban I SEE Secondary School under the education reform policy of community participation. Second, to study local knowledge of cultural environment of Non Yai community Third, to development local curriculum on Ban I SEE school by using documentary research, participant observation, key informant interview, focus group, and workshops. By using ideas of Keyes (1991) to explain the education management of Thai state and Levels of analysis in traditional knowledge and management system by Fikert Berkes (1999) in which explain that there are four levels of local knowledge on resources and environment. This research was conducted during May 2012 to October 2016. The research results were as followings; 1) under the education reform policy of Thai state, the content of the curriculum is not relevant with the local, the teachers based their teaching on books from Ministry of Education, there is no community participation in the curriculum and makes the curriculum serve no purpose of the daily life of the local. 2) The communities around Non Yai forest have traditional ecological knowledge with deep knowledge of physical geography, ecological systems, plants and animals’ species, resource management and utilization, institutions management, communities’ world vision toward resource and environment for the suitable local curriculum. 3) the usage of local knowledge on cultural environment on the curriculum of Ban I SEE school could provide unique curriculum and able to announce the use of local curriculum in educational institutes with the cooperation from the school board, parents, communities, government agencies, private sector, and private development organizations. To lead the school to the model of education management and workshops for expanding the local curriculum in the Northeastern Thailand schools. Conclusion, by using the concept of local knowledge on cultural environment to collect the local knowledge of the community proved that the communities have a deep knowledge of nature which can be used well in the management of local curriculum.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนบ้านอีเซภายใต้นโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่ให้สังคมมีส่วนร่วม  2) เพื่อศึกษาความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมของชุมชนรอบป่าโนนใหญ่  และ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้ความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการจัดการศึกษาของ โรงเรียนบ้านอีเซ(คุรุราษฎร์วิทยา)  โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant observation) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยใช้แนวคิดของ Keyes (1991) ที่อธิบายให้เห็นว่าการจัดการศึกษาของรัฐไทย คือเทคโนโลยีของอำนาจ และแนวคิดความรู้ท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม  (Levels of analysis in traditional knowledge and management systems) ของ Berkes (1999) ที่ใช้อธิบายความรู้ท้องถิ่นด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใน 4 ระดับ และเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2555 ถึง เดือน ตุลาคม 2559 มีผลการศึกษาดังนี้ ประการแรก แม้ว่ารัฐจัดให้มีหลักสูตรท้องถิ่นภายใต้นโยบายการปฏิรูปการศึกษา แต่พบว่า เนื้อหาในการสอนไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น ครูสอนเนื้อหาโดยยึดตำรา กระบวนการเรียนไม่ได้ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม ทำให้หลักสูตรท้องถิ่นไม่ตอบสนองต่อชุมชน  ประการที่สอง พบว่าชุมชนรอบป่าโนนใหญ่มีความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม (Traditional ecological knowledge) ที่ลึกซึ้งทั้งด้านกายภาพ ระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ ด้านการจัดการและการใช้ประโยชน์ ด้านการจัดการเชิงสถาบัน และโลกทัศน์ของชุมชนต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการสอนหลักสูตรท้องถิ่น ประการที่สาม ได้มีการนำความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมของชุมชนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านอีเซ(คุรุราษฎร์วิทยา) ทำให้โรงเรียนสามารถสร้างตำราหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นและสามารถประกาศใช้หลักสูตรท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมศึกษาในสถานศึกษาได้ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน จนนำไปสู่โรงเรียนต้นแบบของการจัดการศึกษาและเป็นที่ฝึกอบรมเพื่อขยายผลการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นสู่โรงเรียนในภาคอีสาน กล่าวโดยสรุป การใช้แนวคิดความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมมาใช้ในการเก็บข้อมูลความรู้ท้องถิ่นของชุมชนทำให้เห็นได้ว่าชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่ลึกซึ้ง สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1236
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010183003.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.