Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1239
Title: Phonological System and Genetic Classification of Tai in Phulaenchang Village, Phulaenchang  Sub-district, Na-khu District, Kalasin Province
ระบบเสียงและการจัดกลุ่มทางเชื้อสายของภาษาไทบ้านภูแล่นช้าง ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Siraphat Hannok
สิรพัชญ์ หาญนอก
Thananan Trongdee
ธนานันท์ ตรงดี
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ระบบเสียง
ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย
ภาษาไทบ้านผู้แล่นช้าง
Phonological System
Genetic Classification
Tai in Phulaenchang
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the thesis are to analyze the phonological system and study the genetic relationships of the Tai in Phulaenchang village, Phulaenchang Sub-district, Naku District of Kalasin Province with the Phu Tai and Lao dialects. The study was conducted by interviewing a primary informant and three secondary informants using basic word list of 1,630 items. The data was analyzed for consonant, vowel and tonal phonemes. In addition, the obtained data was used to compare the phonological changes in the cognate words with the Phu Tai and Lao dialects. The results of the study on phonological system analysis reveal that the Tai in Phulaenchang village has nineteen initial consonants and nine final consonants. One consonant cluster appears only in the initial position. There are eighteen monopthongs, three diphthongs, and five tones. To prove the genetic relationships of the Tai in Phulaenchang village ​​with Phu Tai and Lao dialects, comparison of the phonological changes in the cognate words of Tai in Phulaenchang village with the Phu Tai in Kuchinarai, Phu Tai in Nong Sung, and the five Lao dialects, namely Lao Luang Prabang, Lao Vientiane, Lao Savannakhet, Lao Champasak and Lao Attapeu is investigated. It can be concluded that the Tai in Phulaenchang village is obviously not a Phu Tai language due to the differences in tonal development and changes in the diphthong vowels. When compared with the five Lao dialects, it is found that the Tai in Phulaenchang village has a shared innovation of phonological change, in particular, the tonal development with those of Lao Savannakhet.
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงและศึกษาความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของภาษาไทบ้านภูแล่นช้าง ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์กับภาษาผู้ไทและภาษาลาว การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาหลัก 1 คนและผู้บอกภาษารอง 3 คน โดยใช้รายการคำพื้นฐานจำนวน 1,630 คำและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาหน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงวรรณยุกต์ อีกทั้งนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางเสียงในคำร่วมเชื้อสายกับภาษาผู้ไทและภาษาลาว ​ผลการวิเคราะห์ระบบเสียงพบว่าภาษาไทบ้านภูแล่นช้าง มีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว 19 หน่วยเสียงซึ่งปรากฏเป็นพยัญชนะต้นได้ทั้ง 19 หน่วยเสียงและปรากฏเป็นพยัญชนะท้ายได้ 9 หน่วยเสียง หน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำมี 1 หน่วยเสียง ปรากฏต้นพยางค์เท่านั้น หน่วยเสียงสระเดี่ยวมี 18 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระประสมมี 3 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงวรรณยุกต์มี 5 หน่วยเสียง สำหรับการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของภาษาไทบ้านภูแล่นช้างกับภาษาผู้ไทและภาษาลาวนั้น ใช้วิธีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางเสียงในคำร่วมเชื้อสายของภาษาไทบ้านภูแล่นช้างกับภาษาผู้ไทกุฉินารายณ์ ภาษาผู้ไทหนองสูง และภาษาลาวทั้ง 5 ถิ่นประกอบด้วย ภาษาลาวหลวงพระบาง ภาษาลาวเวียงจันทน์ ภาษาลาวสะหวันนะเขด ภาษาลาวจำปาสัก และภาษาลาวอัดตะปือ ผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าภาษาไทบ้านภูแล่นช้างไม่ใช่ภาษาผู้ไท เนื่องจาก มีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการวรรณยุกต์และการเปลี่ยนแปลงสระประสมอย่างชัดเจนและเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาลาวทั้ง 5 ถิ่นแล้วพบว่าภาษาไทบ้านภูแล่นช้างมีการเปลี่ยนแปลงด้านเสียงที่เป็นนวัตกรรมร่วม โดยเฉพาะพัฒนาการวรรณยุกต์คล้ายคลึงกับภาษาลาวสะหวันนะเขดมากที่สุด
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1239
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010180001.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.