Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1241
Title: Lam Phee Fa : The way of Local Wisdom Health in Sum Had Community Borabue Subdistrict Borabue District Mahasarakham Province
ลำผีฟ้า : วิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในชุมชนบ้านซำแฮด ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Thongda Keawmeaung Jantasutto
ทองดา แก้วเมือง จนฺทสุทฺโธ
Theerapong Meethaisong
ธีระพงษ์ มีไธสง
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การแพทย์สมัยใหม่
ชุมชนบ้านซำแฮด
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
วิถีการรักษา
ลำผีฟ้า
Modern Medicine
Ban Sam Had Community
Intellect Folk
Way of Treatment
Lam Phee Fa
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study traditional methods of health maintenance and factors and conditions related to traditional health care methods in the Ban Sam Had community Borabue Sub-district Borabue District Mahasarakham Province. The result found that Ban Sam Had community there is a ritual to treat with ghosts of Santi Runnarut mother is a way of maintaining health in traditional ways. The invitation Phee Fa (Eyephee) help maintain remedy adown. Because the ghost is the ghost that determines the fate of the patient the ritual has various elements. To KherungKhayraysa Kartaengkay Khaen Attending the ceremony people Klonlam and Dance. Treatment ceremony will occur in 3 cases which are:  Preparation are Preparation of the place to remove the sick person. Rite complementary a treatment stage are Summon beam Phee Fa Lamsong to cause and Lam soothe. Post ritual is to teach the sick to follow the tradition of Phee Fa and providing offerings with to Phee Fa in month 6 ritual khuwng Phee Fa to be sacrifice Phee Fa. Compensation favor which provides protection are Maemor satellite and Patient. The Lam Phee Fa there is a relationship between the belief that can cause illness and still cure illness. Belief in Buddhism, the community believes that Heresy Merit Underworld Paradise. Affecting the treatment of illness and beliefs about the supernatural phenomenon that can be used to predict illness. This belief Mor Lam Phee Fa brought in to participate in the healing ritual of Maemor. Lam Phee Fa ceremony  then the way to maintain health as in local wisdom is directly in the community. Treatment of patients with diseases caused by ghosts and treating patients that modern medicine cannot continue to heal patients who are healed must proceed according to the contraindications of austerely Phee Fa. The raditional methods of health maintenance That is the factors and conditions that relate to the people in the community caused by the society to change together with the advancement of technology today. As a result, patients have greater access to medical information and access to medical care for all people in the community giving the patient a variety of treatment options. The government encourages modern medicine into the community. There are both provincial and district hospitals. The section encourage health Hospital parish also has a role in primary care for patients in the community. Born as values demanding more modern medicine and most importantly patients have access to a variety of areas. Owing to communication and communication in the community is more convenient but antibiotic treatment with modern medicine Did not respond to the patient's disease. When the doctor is the person who provides the medicine and has the sole decision about the treatment. The patient is solely responsible for acting as prescribed by the doctor. The way of treatment layout traditional wisdom “Lam Phee Fa” Santi Runnarut mother. That has brought Lam Phee Fa come to treat patients in Ban Sam Had community. Allowing patients from the original status to become independent patients, no longer having to obey the commands of modern doctors. The patient and Maemor therefore social relationships that are good to each other and with people in the community. The patient's family is warm liberation from physical and mental illnesses. The happiness that healed from sickness waiting for death causing in the Ban Sam Had community patients are still being treated as well rite Lam Phee Fa to presently.
งานวิจันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านและศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่สัมพันธ์กับวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในชุมชนบ้านซำแฮด ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านซำแฮด มีพิธีกรรมการรักษาด้วยผีฟ้าของแม่สันติ รุณรุทธิ์ เป็นวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นการออนวอนเชิญผีฟ้า (อ้ายพี่) ลงมาช่วยรักษาเยียวยา เพราะผีฟ้าเป็นผีที่กำหนดชะตาชีวิตของผู้ป่วย พิธีกรรมมีองค์ประกอบต่างๆ คือ เครื่องคายรักษา การแต่งกาย แคน บุคคลเข้าร่วมพิธี กลอนลำ และการฟ้อนรำ พิธีการรักษามี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นจัดเตรียม ได้แก่ การจัดเตรียมสถานที่เครื่องคายรักษาคนป่วย ขั้นประกอบพิธีกรรมเป็นขั้นการลำรักษา ได้แก่ การลำอัญเชิญผีฟ้าลำส่องหาสาเหตุและลำเรียกขวัญ ขั้นหลังพิธีกรรมเป็นการอบรมสั่งสอนคนป่วยให้ปฏิบัติตามธรรมเนียมของผีฟ้า และจัดนำสิ่งของเครื่องเซ่นให้กับผีฟ้า ในเดือน 6 มีพิธีเลี้ยงข่วงผีฟ้า เพื่อเป็นการบวงสรวงผีฟ้า เป็นการตอบแทนบุญคุณที่ให้ความคุ้มครองรักษาแก่แม่หมอ บริวาร และผู้ป่วย การลำผีฟ้ามีความสัมพันธ์ทางความเชื่อว่าสามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยและยังรักษาการเจ็บป่วยได้ ความเชื่อในพุทธศาสนาชุมชนเชื่อว่า บาป บุญ นรก สวรรค์ มีผลต่อการรักษาการเจ็บป่วย และความเชื่อเกี่ยวกับปรากฎการณ์สิ่งที่เหนือธรรมชาติว่าสามารถนำมาทำนายการเจ็บป่วยได้ ความเชื่อนี้หมอลำผีฟ้าได้นำร่วมในพิธีกรรมการรักษาของแม่หมอ พิธีกรรมลำผีฟ้าจึงเป็นวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในชุมชนโดยตรงคือ การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการกระทำของผี และการรักษาผู้ป่วยที่แพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถทำการรักษาต่อไปให้หายได้ ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วจะต้องดำเนินชีวิตตามข้อห้ามของผีฟ้าอย่างเคร่งครัด วิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เป็นปัจจัยและเงื่อนไขที่สัมพันธ์ของคนในชุมชนที่เกิดจากสังคมเปลี่ยนไปประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์มากขึ้นและสิทธิการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงประชาชนทุกคนในชุมชน ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย และรัฐบาลมีการส่งเสริมให้การแพทย์สมัยใหม่เข้ามาในชุมชน มีทั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัดและอำเภอ ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็มีบทบาทในการรักษาเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยในชุมชน เกิดเป็นค่านิยมความต้องการการแพทย์สมัยใหม่มากขึ้น และที่สำคัญผู้ป่วยได้เข้าถึงหลากหลายทุกพื้นที่ได้ เนื่องจากการติดต่อการสื่อสารและการคมนาคมในชุมชนมีความสะดวกมากขึ้น แต่การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะด้วยแพทย์สมัยใหม่ก็ไม่ตอบสนองกับโรคของผู้ป่วย เมื่อแพทย์เป็นผู้ที่ให้ยาและมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ป่วยมีหน้าที่เพียงทำตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น  จึงทำให้วิถีการรักษาแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน “ลำผีฟ้า” ของแม่สันติ รุณรุทธิ์ ที่ได้นำพิธีกรรมลำผีฟ้ามารักษาผู้ป่วยในชุมชนบ้านซำแฮด ทำให้ผู้ป่วยที่จากเดิมมีสถานะตั้งรับกลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งของแพทย์สมัยใหม่อีกต่อไป ผู้ป่วยและแม่หมอจึงเกิดสังคมมิติทางสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและกับบุคคลรอบข้างในชุมชน ครอบครัวผู้ป่วยมีความอบอุ่น หลุดพ้นจากโรคทางกายทางจิตใจ เกิดความสุขที่หายจากโรคภัยไข้เจ็บที่รอความตาย ทำให้ในชุมชนบ้านซำแฮด ยังคงมีการรักษาผู้ป่วยด้วยพิธีกรรมลำผีฟ้าจนถึงปัจจุบันนี้
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1241
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010154003.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.