Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1255
Title:   Green Discourse in Literature Appreciation Textbooks for Matthayomsuksa 1-6
วาทกรรมสีเขียวในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6
Authors: Attachai Sudbonid
อรรถชัย สุดบนิด
Sopee Untaya
โสภี อุ่นทะยา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: วาทกรมสีเขียว
หนังสือวรรณคดีวิจักษ์
กลวิธีการนำเสนอ
Green Discourse
Literature Appreciation Textbooks
Presentation Tactics
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to investigate green discourse and its presentation strategies found in 30 Literature Appreciation Textbooks for Matthayomsuksa 1-6 selected from the textbooks used in the Basic Thai courses. Theoretical frameworks included discourse theories, ecocriticism and literary theories, the concept of elements of literature, and the concept of rhetorical figures. The findings indicated that green discourse found in these textbooks could be categorized into 9 main types, including richness of nature and environment, four requisites for human living, knowledge and new experience, teaching and guideline for appropriate conduct, inspiration for expressing suffering and happiness, travel companions and way of life, signs of power, enemy and life-threatening obstacles, and creator and the end of life. With regards to presentation strategies of green discourse, the strategies with reference to elements of literature were commonly found. These strategies included presentation by stories and ideas, presentation by setting and scene, presentation by characters, and presentation by viewpoints respectively. In terms of presentation strategies about figure of speech, euphuism was commonly found, followed by figuration, metaphor, symbol, metonymy, hyperbole, personification, irony, onomatopoeia, rhetorical question, and apostrophe respectively. In all the aforementioned, the findings clearly reflects the presentation strategies of green discourse in the Literature Appreciation Textbooks and these presentation strategies effectively convey meanings to students for better understanding and learning about green discourse which eventually leads to the improvement of conscience of both Thai and global citizenship. They will learn how to conserve and cherish the environment which corresponds with learning indicator #5 as stated in the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) which clearly states the importance of conscience about conservation of culture and Thai wisdom, conservation and environmental development, possessing a public mind and establishing core values, and coexisting happily in society.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาวาทกรรมสีเขียว และกลวิธีการนำเสนอวาทกรรมสีเขียวในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยศึกษาจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ จำนวน 30 เรื่อง กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาคือ ทฤษฎีวาทกรรม ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ แนวคิดองค์ประกอบของวรรณคดี และแนวคิดโวหารภาพพจน์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า วาทกรรมสีเขียวที่ปรากฏในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ จำแนกได้ 9 ประเภท ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรู้และประสบการณ์ใหม่ สื่อคำสอนแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน แรงบันดาลใจในการแสดงอารมณ์สุขทุกข์ เพื่อนในการเดินทางและการดำเนินชีวิต สัญญะของพลังอำนาจ ศัตรูและอุปสรรคภัยคุกคามชีวิต และผู้ให้กำเนิดและจุดจบชีวิต กลวิธีการนำเสนอวาทกรรมสีเขียวพบว่า กลวิธีการนำเสนอด้านองค์ประกอบวรรณคดีพบมากที่สุดคือ กลวิธีการนำเสนอผ่านเรื่องราวหรือข้อคิด กลวิธีการนำเสนอผ่านสถานที่และฉาก กลวิธีการนำเสนอผ่านตัวละคร และการนำเสนอผ่านทรรศนะ ตามลำดับ ในด้านกลวิธีการนำเสนอแบบโวหารภาพพจน์มากที่สุดคือ โวหารภาพพจน์แบบอุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ นามนัย อติพจน์ บุคลาธิษฐาน ความเปรียบประชด สัทพจน์ ปฏิปุจฉา และสมมติภาวะ ตามลำดับ กลวิธีการนำเสนอที่กล่าวมาข้างต้น ช่วยสนับสนุนให้การนำเสนอวาทกรรมสีเขียวในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงสื่อความหมายถึงผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการเข้าใจและเรียนรู้วาทกรรมสีเขียว นำมาซึ่งการมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลกรู้อนุรักษ์และหวงแหนธรรมชาติ เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย ข้อที่ 5 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กำหนดไว้ ว่าด้วยเรื่องการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงาม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1255
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010182007.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.