Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1266
Title: Village Names of Ethnic Groups in Thai-Cambodian Borderland ,Surin Province
ชื่อหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์
Authors: Praweena Prapansri
ประวีณา   ประพานศรี
Banyat Salee
บัญญัติ สาลี
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ชื่อหมู่บ้าน
กลุ่มชาติพันธุ์
พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา
จังหวัดสุรินทร์
Village names
Ethnic Groups
Thai-Cambodian Borderland
Surin Province
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aims of this study is to examine the histories, the characteristics of denomination and the relations between village names and social-cultures of ethic groups in Thai-Cambodian borderland in Surin province. There were 395 Villages collected. Samples of the study consist of 55 villages in Phanomdongrak district, 86 villages in Kapchoeng district, 186 villages in Sangkha district and 68 villages in Buachet district. The researcher collected data by interview and observation. The finding of the study indicate that the histories and characteristics of village’s denomination that relating to the name’s background and meaning of ethic groups in Thai-Cambodian borderland in Surin province was devided into seven groups ; 1) relate to persons, 2) relate to plants, 3) relate to locations and directions, 4) relate to animals, 5) relate to archaeology and archaeological site, 6) relate to topography and 7) other meanings  The finding of the study indicate 1that language and  language structure uses for  village’s denomination of ethic groups in Thai-Cambodian borderland in Surin province was divided into 5 languages ; Khmer, Thai, Pali-Sanskrit, Lao and Kui. The language source can be classified into 3 features consisting of village’s name with 1) a single language consisting of Khmer, Thai, Pali-Sanskrit, Lao and Kui. A single languages that were most referred in village names were Khmer, Thai, Pali-Sanskrit Lao and Kui, repectively 2) two languages consisting of Khmer and Thai, Khmer and Pali-Sanskrit, Thai and Pali-Sanskrit, Kui and Pali-Sanskrit, and Kui and Thai 3) and three languages consisting of Khmer Thai and Pali-Sanskrit. The morpheme structure of village names of ethnic groups was divided into three structures, one morpheme, two-morphemes and three morphemes. The result showed that the village names reflected in culture in term of habitations choosing, occupations (farmer and planter),livings,relatives, believes and traditions. In addition, the researcher divided the relation of village name and ethnic groups in Thai-Cambodian borderland in Surin province into 2 points. 1) Village names and moving-settlement, the researcher found the villages that moving and settlement in borderland causes of war and living 2) Changing village names in borderland divided into 4 changing; sounds, bad names, illness and government performing.
การศึกษาชื่อหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและลักษณะการตั้งชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างชื่อหมู่บ้านกับสังคมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเก็บรวบรวมจากหมู่บ้านจำนวน 395 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้านในอำเภอพนมดงรัก 55 หมู่บ้านในอำเภอกาบเชิง 86 หมู่บ้าน หมู่บ้านในอำเภอสังขะ 186 หมู่บ้าน และหมู่บ้านในอำเภอบัวเชด 68 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลภาคสนามโดยวิธีสัมภาษณ์ และสังเกต ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะที่มาของชื่อหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะที่มาการตั้งชื่อหมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์กับที่มาและความหมายของชื่อ 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับบุคคล 2) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับพืชพรรณธรรมชาติ 3) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง และทิศทาง 4) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสัตว์ 5) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน 6) ลักษณะสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ และ 7) ลักษณะสัมพันธ์ที่มีความหมายอื่น ๆ   ผลการศึกษาการใช้ภาษาและโครงสร้างทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อหมู่บ้านในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ภาษาที่นำมาตั้งชื่อหมู่บ้าน มีทั้งหมด 5 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาเขมร ภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาลาว และภาษากูย ดังต่อไปนี้ 1) ชื่อที่มาจากภาษาเดียว ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาลาว และภาษากูย โดยภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อหมู่บ้านที่มาจากภาษาเดียวมากที่สุด คือ ภาษาเขมร รองลงมาคือภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาลาว และภาษากูย ตามลำดับ 2) ชื่อที่มาจากภาษา 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาเขมร + ภาษาไทย ภาษาเขมร + ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาไทย + ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษากูย + ภาษาบาลี-สันสกฤต  ภาษากูย + ภาษาไทย 3) ชื่อที่มาจาก 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาไทย และภาษาบาลี-สันสกฤต ส่วนโครงสร้างของหน่วยคำที่นำมาตั้งชื่อหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ นั้น พบว่า มีโครงสร้าง 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) โครงสร้างชื่อ 1 หน่วยคำ 2) โครงสร้างชื่อ 2 หน่วยคำ 3) โครงสร้างชื่อ 3 หน่วยคำ ความสัมพันธ์ของชื่อหมู่บ้านกับวัฒนธรรมการตั้งชื่อหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ แบ่งได้ 4 ประการ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมการเลือกทำเลที่อยู่อาศัย 2) วัฒนธรรมด้านการประกอบอาชีพ พบว่า มีการประกอบอาชีพ 2 อาชีพ ได้แก่ อาชีพการทำนา อาชีพการทำไร่ 3) วัฒนธรรมการดำรงชีวิต 4) วัฒนธรรมเครือญาติ 5) วัฒนธรรมด้านความเชื่อ 6) วัฒนธรรมด้านประเพณี ส่วนความสัมพันธ์ของชื่อหมู่บ้านกับกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนนั้น แบ่งประเด็นในการนำเสนอดังต่อไปนี้ 1) ชื่อหมู่บ้านกับการย้ายและการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ พบหมู่บ้านที่มีการย้ายและการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ชายแดน คือ การย้ายและตั้งถิ่นฐานจากเหตุการณ์ภัยสงคราม และการย้ายและการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเลี้ยงชีพ 2) การเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านในพื้นที่ชายแดน แบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านเสียง การเปลี่ยนชื่อจากเดิมเพราะเชื่อว่ามีความหมายไม่ดี การเปลี่ยนชื่อจากเดิมเพราะความเชื่อเรื่องโรคภัย และชื่อหมู่บ้านกับปฏิบัติการของรัฐ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1266
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010180014.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.