Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1273
Title: | The Relationship between Accounting Control and Accounting Information Quality
of Logistics Businesses in Thailand ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมทางการบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี ของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย |
Authors: | Nutthanun Ubonkrut ณัฐนันท์ อุบลครุฑ Krittayawadee Gatewongsa กฤตยาวดี เกตุวงศา Mahasarakham University. Mahasarakham Business School |
Keywords: | การควบคุมทางการบัญชี คุณภาพข้อมูลทางการบัญชี ธุกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย Accounting control Accounting Information Quality Logistics Businesses in Thailand |
Issue Date: | 11 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Running a business in intensive competitive environment at present, it requires accounting control, which is considered as a tool to support business with accounting information quality. Then, businesses can use accounting information to make economic decisions and assess their operational capabilities. The purpose of this research was to study the relationship between accounting control and accounting information quality of logistics businesses in Thailand. Questionnaires were used as a tool to collect data and responded by 115 accounting executives logistics businesses in Thailand. The statistical techniques used for data analysis were t-test, F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, and multiple regression analysis.
The findings revealed that the accounting executives of logistics businesses in Thailand had opinions regarding total accounting control at a high level. Accounting record dimension showed at the highest level and other four dimensions including physical and information control, separation of duties, documenting and recording, and performance auditing revealed at high level. In terms of total accounting information quality, those accounting executives had opinions at high level. Specifically, understandability dimension presented at the highest level and other three dimensions; relevance, reliability and comparability, showed at a high level.
For documenting and recording dimension of accounting controls, the opinions of the accounting executives are found different for logistics businesses in Thailand with different operating periods. The opinions are also found different for the logistics business in Thailand with different employees on comparability dimension of accounting information quality.
The results reveal that accounting control is essential in enhancing accounting information quality. To be precise, firstly, the accounting record dimension had a relationship and a positive impact on the total accounting information quality, relevance, and comparability dimensions. Secondly, physical and information control dimension had a relationship and a positive impact on total accounting information quality, understandability, and relevance dimensions. Thirdly, the separation of duties had a positive relationship and impact on total accounting information quality and reliability. Next, the documenting and recording dimension, had a relationship and a positive impact on total accounting information quality, understandability, and comparability dimensions. Lastly, the performance auditing had a relationship and a positive impact on accounting information quality, relevance, and reliability dimensions.
In conclusion, the accounting control has a positive relationship and impact on the accounting information quality of the logistic business in Thailand. Consequently, preparing businesses to achieve their goals, accounting control, should be concerned. การประกอบธุรกิจในสภาวะการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในปัจจุบัน ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการควบคุมทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ธุรกิจมีข้อมูลทางการบัญชีที่มีคุณภาพ สามารถนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และประเมินความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมทางการบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของ ธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยจำนวน 115 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test F–test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการควบคุมทางการบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการกำหนดวิธีการในการบันทึกรายการทางบัญชีและอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับสินทรัพย์และข้อมูล ด้านการแบ่งแยกหน้าที่ ด้านการจัดทำเอกสารและการบันทึก และด้านการตรวจสอบการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยยังมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเข้าใจได้ ในขณะที่ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีการควบคุมทางการบัญชีด้านการจัดทำเอกสารและการบันทึกแตกต่างกัน และผู้บริหารฝ่ายของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่มีจำนวนพนักงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีด้านการเปรียบเทียบกันได้แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) การควบคุมทางการบัญชีด้านการกำหนดวิธีการในการบันทึกรายการทางบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ 2) การควบคุมทางการบัญชีด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินและข้อมูลมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม ด้านความเข้าใจได้ และด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ 3) การควบคุมทางการบัญชีด้านการแบ่งแยกหน้าที่มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม และด้านความเชื่อถือได้ 4) การควบคุมทางการบัญชีด้านการจัดทำเอกสารและการบันทึกมีความสัมพันธ์และผลส่งกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม ด้านความเข้าใจได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ 5) การควบคุมทางการบัญชีด้านการตรวจสอบการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีโดยรวม ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และด้านความเชื่อถือได้ โดยสรุป การควบคุมทางการบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย จึงควรใช้สารสนเทศที่ได้จากการวิจัยนี้ไปประยุกต์เป็นแนวทางในการควบคุมทางการบัญชีให้สอดคล้องและเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์และเตรียมความพร้อมได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ |
Description: | Master of Accountancy (M.Acc.) บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1273 |
Appears in Collections: | Mahasarakham Business School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010950009.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.