Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1276
Title: Relationship between Product Value Creativity and Performance of  OTOP Businesses  in Mahasarakham Province
ความสัมพันธ์ของการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์กับผลการดำเนินงานของธุรกิจ OTOP  ในจังหวัดมหาสารคาม
Authors: Suchanya Prachprayoon
สุชัญญา ปราชญ์ประยูร
Nuanlaong Attharangsun
นวลละออง อรรถรังสรรค์
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์
ผลการดำเนินงาน
ธุรกิจ OTOP
Product Value Creativity
Performance
OTOP Businesses
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: In the situation of economic uncertainty, every business has to continually compete each other in trade, investment and communication. As of the digital era, the development of OTOP for exporting will operate the economy with enhance Thai’s competitiveness agenda. Accordingly, this study aims to elaborate the relationship between product value creativity and performance of OTOP businesses in Mahasarakham province. The data collection of this study was collected the questionnaire from 300 OTOP owners in Mahasarakham and the data was analyzed by statistical method comprising of F-test (ANOVA and MANOVA), Multiple Correlation Analysis and Multiple Regression Analysis.  The finding revealed most of OTOP owners that they are women, their age  30-40 years old, their marital statuses are married, their degrees are bachelor's degree or higher, their working experiences are 5-10 years, their positions are C.E.O., their averaged incomes are 15,000-25,000 Baht per month and their products are about utensil, decoration and souvenir made by local producers, their startup costs are more than 300,000 Baht, their amounts of employees are less 10 employees, they have started business for 5-10 years and their yearly revenues are more than 550,000 Baht. The opinions from OTOP owners showed that the most important is the product value creativity in product quality, service quality, price, store image and the inferior is the performance of OTOP businesses in customer perspective, internal process perspective, learning and growth perspective, financial perspective. The difference on yearly revenues of OTOP owners in Mahasarakham province affected that their product value creativities in product quality, service quality were different. According to the analysis of the relationships and effects, the finding revealed 1.) the product value creativity in product quality and service quality positively affected and correlated with overall performance in customer perspective, internal process perspective and learning and growth perspective 2.) the product value creativity in price positively affected and correlated with overall performance in internal process perspective 3.) the product value creativity in store image positively affected and correlated with overall performance in internal process perspective and learning and growth perspective. In the conclusion, the product value creativity showed relationships and effects on positive impact correlation with overall performance. Thereby, OTOP owners in Mahasarakham province should mainly focus on the service that can deliver what the customer needs by developing the service to be beyond their expectation so as to make the difference in service and consider the customer as the most significant factor in service.       
ในยุคที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกธุรกิจล้วนมีการแข่งขันกันอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการค้า การลงทุน และการสื่อสารในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการส่งออกจึงถือเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ของการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์กับผลการดำเนินงานของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์และผลกระทบที่มีต่อผลการดำเนินงานโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจ OTOP ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 300 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test (ANOVA และMANOVA)  การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารของธุรกิจ OTOP ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ประสบการณ์ในการดำเนินงาน 5-10 ปี ตำแหน่งงานในปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับ 15,000-25,000 บาท และธุรกิจ OTOP ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตชุมชน ประเภทผลิตภัณฑ์ ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ทุนในการดำเนินงานเริ่มต้น มากกว่า 300,000 บาท จำนวนพนักงาน น้อยกว่า 10 คน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 5-10 ปี และรายได้เฉลี่ยต่อปีของกิจการ มากกว่า 550,000 บาท ผู้บริหารธุรกิจ OTOP มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพการบริการ ด้านราคา และด้านภาพลักษณ์ และผู้บริหารธุรกิจ OTOP มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านการเงิน ผู้บริหารธุรกิจ OTOP ในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีของกิจการแตกต่างกัน มีการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์โดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และด้านคุณภาพการบริการแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพการบริการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านลูกค้า 2) การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์ ด้านราคา มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม และด้านกระบวนการภายใน และ 3) การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์ ด้านภาพลักษณ์ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยสรุป  การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับ ผลการดำเนินงานดังนั้นผู้บริหารธุรกิจ OTOP ในจังหวัดมหาสารคาม ควรให้ความสำคัญกับการบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยพัฒนาการบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้า โดยพัฒนาการบริการที่สามารถให้บริการที่เหนือความคาดหวังของลูกค้า เพื่อสร้างความแตกต่างในการให้บริการ และรวมถึงการให้บริการที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญ ให้เกิดความประทับใจในระดับสูง
Description: Master of Management (M.M.)
การจัดการมหาบัณฑิต (กจ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1276
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010956004.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.