Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1298
Title: Hospital Trash Infection Disposal to Reduce the Emission of Pollutant into the Atmosphere using Ozone Technology
การกำจัดขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศโดยใช้เทคโนโลยีโอโซน
Authors: Wenich Vattanapuripakorn
เวนิช วัฒนภูริภากร
Bopit Bubphachot
บพิธ บุปผโชติ
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: โอโซน
เตาเผาแบบหมุน
ก๊าซแอลพีจี
ห้องสครับปริ้ง
อ็อกซิเดชั่น
ค่าความเป็นกรดด่าง
ค่าออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีสารในน้ำ
Ozone
Rotary Kiln
Liquefied Petroleum Gas
Wet Scrubber
Oxidations
pH
BOD
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to compare the environment capability to the standard by studying the air and water pollutants released from a prototype system which is designed by applying the 100 kg/litre ozone technology with the 100 kg/hour Rotary Kiln Infectious Waste incinerator. The testing subject of this study was the hospital red bags waste disposal. The designed incineration system comprised of the combustion using LP Gas at the fuel utilization rate of 40-50 litre/hour, controlled temperature of water at 20-25 °C mixed with ozone at controlled concentration of 100-160 g/Nm3 in the Wet scrubber. The results showed that this designed ozone system yielded high-efficiency oxidation treatment in water pollution, air pollution, and exhaust odors. The treatment result indicated that the measurement of the gas pollutant emission was lower than the emission standard defined in the Emission Standard Reference Guide recommended by the US EPA. The analysis of air pollution and water pollution showed reduction amount of the released Total Suspended Particle (TSP), sulphur dioxide (SO2), Nitrogen oxide (NO), Nitrogen dioxide (NO2), carbon monoxide (CO), and Hydrogen Chloride Hydrogen Chloride (HCl). These parameters including smoke density and  acidity or alkalinity, pH and the BOD (Biochemical Oxygen Demand), which is the amount of oxygen, that are essential for organic substance for microbial decomposition in the water. The related toxic gases were examined for the emission rate and were compared with the standard, for emission of waste air from solid waste incinerators, defined by the Ministry of Natural Resources and Environment. The conclusion was Ozone system has high efficiency in infectious waste treatment at 90% when it mixed with water and suppression applied into the chamber wet scrubber system in combination with the specific designed of using a swirling injection system in the ozone gas treatment chamber to suppress pollution for infectious waste. Due to the temperature of the exhaust gas decreasing according to the conditions specified.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากระบบที่ถูกออกแบบด้วยการใช้เทคโนโลยีโอโซนขนาด 100 g/hr. มาปรับประยุกต์ใช้กับเตาเผาขยะติดเชื้อแบบหมุน(Rotary Kiln) ขนาด 100 kg/hr. ซึ่งเป็นระบบระดับต้นแบบที่ใช้งานได้จริง ผลการศึกษาได้จากการทดสอบกับการเผาขยะติดเชื้อถุงแดงจากสถานพยาบาลโดยใช้เชื้อเพลิง (LP Gas) เพื่อการเผาไหม้ที่อัตราการใช้เชื้อเพลิง 40-50 lite/hr. โดยมีการควบคุมระบบอุณหภูมิของน้ำที่ผสมกับ Ozone ภายในห้อง Wet scrubber ในระดับที่ 20-25 องศาเซียลเซียสและมีการควบคุมความเข้มข้นของ Ozone ในระดับที่ 100-160 g/Nm3. ซึ่งส่งผลให้ระบบโอโซนมี ประสิทธิภาพในการ Oxidations สูงสำหรับการบำบัดมลพิษทางน้ำและอากาศรวมทั้งกลิ่นก๊าซไอเสียต่าง ๆ โดยพบว่าสามารถบำบัดก๊าซไอเสียจนทำให้ปริมาณก๊าซไอเสียที่หลงเหลืออยู่หลังจากที่ได้รับการบำบัดแล้วต่ำกว่าข้อกำหนดตามมาตรฐานของ US.EPA ผลการวิเคราะห์มลพิษทางอากาศและน้ำพบว่า การบำบัดนี้ช่วยลดการปลดปล่อยปริมาณมลพิษฝุ่นละออง (TSP) ปริมาณแก๊สไอเสีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NO และ NO2) คาร์บอนมอโนไซด์ (CO) ไฮโดรเจน คลอไรด์ (HCl) รวมทั้งช่วยลดความหนาแน่นของควัน (smoke density) ที่มีผลต่อค่าความเป็นกรดด่างหรือ pH และค่า BOD หรือปริมาณของออกซิเจนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรียสารในน้ำ (Biochemical Oxygen Demand) เป็นต้น ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับทดสอบเหล่านี้ ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบและประเมินอัตราการปลดปล่อยมลพิษกับค่ามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ระบบ Ozone มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงถึง 90 % เมื่อนำไปผสมกับน้ำและถูกนำเข้าไปบำบัดภายใต้การควบคุมความเข้มข้นและอุณหภูมิในห้อง Wet scrubber พร้อมด้วยการออกแบบห้องบำบัดระบบโอโซนก๊าซประเภทใช้ระบบการฉีดหมุนวนเพื่อใช้ยับยั้งมลพิษสำหรับขยะติดเชื้อ เนื่องจากอุณหภูมิของก๊าซไอเสียลดต่ำลงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1298
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010362006.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.