Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1310
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Kanjana Srisakum | en |
dc.contributor | กาญจนา ศรีษาคำ | th |
dc.contributor.advisor | Dhanita Doungwilai | en |
dc.contributor.advisor | ดนิตา ดวงวิไล | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-10-05T15:32:01Z | - |
dc.date.available | 2021-10-05T15:32:01Z | - |
dc.date.issued | 8/8/2018 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1310 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | This research aimed to 1) investigate the efficiency of lesson plans on ‘decimals and fractions’ of Matthayomsuksa 1 students taught by 4MAT and 5E according to the anticipated 75/75 criterion 2) compare learning achievement on ‘decimals and fractions’ of Matthayomsuksa 1 students taught by 4MAT and 5E based on pre-test and post-test scores 3) compare mathematical processing skills on ‘decimals and fractions’ of Matthayomsuksa 1 students taught by 4MAT and 5Es based on pre-test and post-test scores 4) compare learning achievement and mathematical processing skills on ‘decimals and fractions’ of Matthayomsuksa 1 students taught by 4MAT and 5E. The sample included 60 Matthayoumsuksa 1 students in Sakae Pittayakhom School, Semester 2, Academic Year 2016 selected by cluster random sampling. The experimental group 1 consisted of 30 students taught by 4MAT and the experimental group 2 consisted of 30 students taught by 5E. The research instruments included a 4MAT lesson plan mean index 4.79, a 5E lesson plan mean index 4.77, a learning achievement test difficulty index from .32 to .72, discriminant index from .23 to .92, confidence index is .89 and a mathematical processing skills test difficulty index from .35 to .64, discriminant index from .23 to .59 ,When the 1 problem solving confidence index is .83, When the 2 reasoning confidence index is .84 , When the 3 communication confidence index is .87 , When the 4 connection confidence index is .82 And When the 5 Creativity confidence index is .81, Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test (Dependent) and F-test (MANOVA). The results showed that: 1) The efficiency indexes of 4 MAT and 5E lesson plans on ‘decimals and fractions’ of Mathematics Department for Matthayomsuksa 1 students were 76.96/77.58 and 76.70/77.50 respectively, which met the criterion. 2) Learning achievement of Matthayomsuksa 1 students after taught by 4MAT and by 5Es were higher than that before taught by 4 MAT and by 5E at a statistical significance of .05. 3) mathematical processing skills of Matthayomsuksa 1 students after taught by 4MAT and by 5Es were higher than that before taught by 4 MAT and by 5E at a statistical significance of .05. 4) Learning achievement and mathematical processing skills of Matthayomsuksa 1 students taught by 4 MAT and taught by 5E were not different. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT และรูปแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับรูปแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับรูปแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT และรูปแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสะแกพิทยาคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) คือ กลุ่มทดลอง 1 จํานวน 30 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT และกลุ่มทดลอง 2 จํานวน 30 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ซึ่งมีระดับคุณภาพมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ซึ่งมีระดับคุณภาพมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากตั้งแต่ .32 ถึง .72 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .23 ถึง .92 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 และแบบทดสอบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .35 ถึง .64 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20 ถึง .59 ชุดที่ 1 ด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 ชุดที่ 2 ด้านการให้เหตุผลมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 ชุดที่ 3 ด้านการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 ชุดที่ 4 ด้านการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และชุดที่ 5 ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test (Dependent) และ การทดสอบค่าเอฟ F-test (MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับรูปแบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพ 76.96/77.58 และ 76.70/77.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ทั้งสองรูปแบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ทั้งสองรูปแบบมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT | th |
dc.subject | วัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น | th |
dc.subject | ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ | th |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th |
dc.subject | 4 MAT | en |
dc.subject | mathematical process skills | en |
dc.subject | Learning achievement | en |
dc.subject | 5E | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | A COMPARISON OF LEARNING ACHIEVEMENT AND MATHEMATICAL PROCESSING SKILLS OF MATTHAYOMSUKSA 1 STUDENTS THROUGH LEARNING MANAGEMENT APPROACHES USING 4MAT AND 5E | en |
dc.title | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56010580004.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.