Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1321
Title: Developing the Morale Enhance Program for Teachers by Empowerment Process
การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ
Authors: Nuttapong Poochomsri
ณัฐพงษ์ ภูชมศรี
Thanadol Phuseerit
ธนดล ภูสีฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้าง
ขวัญและกำลังใจของครู
การเสริมสร้างพลังอำนาจ
Enhance Program
Teacher Morale
Empowerment
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study current conditions and desirable conditions of Enhancing the morale of teachers in educational institutions. 2) to develop a program to enhance the morale of teachers by using the empowerment process. The research is divided into 2 phases as follows: Phase 1 examines the current conditions and desirable conditions for enhancing the morale of teachers in educational institutions. Under the Office of Secondary Educational Service Areas, Area 21. The sample group used in this research was obtained by Stratified Random Sampling method consisting of With school administrators and teachers in small schools of 88 persons, medium-sized schools of 99 people, large-scale schools of 68 persons and special large-sized schools of 65 persons in total. 320 people. The instrument used in the research was the questionnaires. Phase 2: Develop teacher morale programs using empowerment processes. Data provider group Which are administrators and teachers from 2 model schools, totaling 6 people, and Expert Responsible for assessing the appropriateness and possibilities of the program, consisting of 7 people. The research instruments were interview form and the evaluation form of suitability and feasibility of the program. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. And the need index The research results are as follows:                           1. To strengthen the morale of teachers in schools Under the Office of Secondary Educational Service Area, Area 21, the overall condition and all aspects at a moderate level and The desirable condition as a whole and in every aspect were at a high level.                                                                    2. Teacher morale enhancement program using empowerment process It consists of 5 components which are 1) Principle 2) Objective 3) Content 4) Development methods and 5) Assessment consists of 6 modules, which are Module 1: Creating Opportunities and Career Advancement Module 2 creating an atmosphere of participation in work Module 3 Understanding roles and good attitudes towards work Module 4 Creating good relationships within the organization Module 5 Development of work and standardization of Work and module 6, enhancing work motivation by Teacher Morale Enhancement Program By using the overall empowerment process consisting of EMPO 1, creating knowledge and understanding correctly in the workplace. By the workshop, a total of 59 hours EMPO 2 development, corporate participation and unity By taking action for approximately 3 months or for the entire duration of the EMPO 3 program, checking performance and providing feedback For development By supervising within 10 hours and providing advice throughout the duration of the program and EMPO. 4. Building effective teams or collaborative networks By sustainable development Throughout the period of use of the program And the results of assessing the appropriateness and feasibility of the teacher morale enhancement program using the empowerment process The power by 7 experts as a whole is appropriate and has a high level of possibility.
การวิจัยครั้งมีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน 88 คน โรงเรียนขนาดกลาง  จํานวน 99 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ จํานวน 68 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จํานวน  65 คน รวมทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต้นแบบ 2 แห่ง รวมจำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                                                                                              1. การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีสภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก                         2. โปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผล ประกอบด้วย 6 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 การสร้างโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ โมดูลที่ 2 การสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมในการทำงาน  โมดูลที่ 3 การเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน โมดูลที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพอันดีภายในองค์กร โมดูลที่ 5 การพัฒนาการทำงานและสร้างมาตรฐานในการทำงาน  และโมดูลที่ 6 การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน  โดยโปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครู โดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยรวม ประกอบด้วย EMPO 1 การสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการทำงาน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวม 59 ชั่วโมง EMPO 2 การพัฒนาการมีส่วนร่วมในองค์กรและความสามัคคี โดยการลงมือปฏิบัติ ประมาณ 3 เดือน หรือตลอดระยะเวลาที่ใช้โปรแกรม EMPO 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อการพัฒนา โดยการนิเทศภายใน 10 ชั่วโมง และให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาที่ใช้โปรแกรม และ EMPO 4 การสร้างทีมงานหรือเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ใช้โปรแกรม และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของครูโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน โดยรวม  มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1321
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030580007.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.