Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1326
Title: The Development of Grade 12th Students’ Scientific Argumentation Skills Through Socioscientific Issues Learning
การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
Authors: Natthawat Ai-kaew
ณัฐวัตร อ้ายแก้ว
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
ทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
Socioscitific Issues Learning
Scientific Arguments Skill
Humans and Environmental Sustainability
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aims to develop students’ scientific arguments skill for students grade 12th by using Socioscitific issues learning. Target group were 37 students from Wapiphatum school. Observational protocol were scientific argumentation skill questionnaires,  and observation logs. The quantitative data were analyzed by the calculation of frequencies, Standard deviation (S.D.) and percentages.  The finding showed that first learning cycle, students’ scientific arguments skill pass level good (6-8 score) in the amount of 15 (40.5 percentage). The second learning cycle, student students’ scientific arguments skill pass level good (6-8 score) in the amount of 15 (68.2 percentage).  The final learning cycle, students’ scientific arguments skill pass level good (6-8 score) in the amount of 7 (100 percentage).  
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ให้ผ่านเกณฑ์ในระดับดี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 37 คน  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลที่เป็นประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และส่วนที่ 2 เป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย  และ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ได้แบ่งรอบปฏิบัติการออกเป็น 3 วงรอบ ผลการวิจัยพบว่า วงรอบปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5 และไม่ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 59.5 วงรอบปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 68.2 และไม่ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 34.8 และวงรอบปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1326
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010556033.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.