Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1336
Title: | The effectiveness of Triphala in relieving constipation ประสิทธิผลของตรีผลาในการบรรเทาภาวะท้องผูก |
Authors: | Narathip Wiwakplern นราธิป วิเวกเพลิน Prasoborn Rinthong ประสบอร รินทอง Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | ตรีผลา สารสกัดตรีผลา มะขามแขก ท้องผูก ประสิทธิผล triphala triphala extracts senna extract constipation effectiveness |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This experimental study was a randomized double blinded controlled trial which aimed to compare the effectiveness of the triphala “vata” herbal formula (Terminalia chebula Retz 12 parts, Phyllanthus emblica Linn. 8 parts and T. bellerica Roxb. 4 parts) and senna extract in relieving constipation. The subjects were constipation volunteers in Serm subdistrict, Phon Phisai district, Nong Khai province, consisting of 201 people which randomly divided into 3 groups. Group 1 received 2 tablets of 500 mg triphala powders. Group 2 was giving 2 tablets of 250 mg triphala extract and group 3 was giving 2 tablets of senna extract (1 tablet contained 7.5 mg of sennosides). All treatments were taken once time a day before bedtime. Data were collected using the constipation assessment forms, questionnaires and daily defecation notebooks. The results showed that the volunteers receiving triphala powders, triphala extract and senna extract defecated within 24 hours after treated administration with 79.7%, 82.5% and 88.5%, respectively. There was no statistical different when compared among 3 groups. The highest defecation time of the volunteers in senna extract group was 4 times per day. It was more than those in triphala powders and triphala extract groups which shown as 2 and 3 times per day, respectively. In addition, all the treatments showed increased of frequency of stool and stool consistency score. Straining during act, sensation of incomplete evacuation and sensation of anorectal obstruction/blockage, flatulence and anorexia were decreased. The volunteers in all groups were defecate after taking the treatments 10 hours and almost volunteers did not appear any side effects. After stop taking the treatments, volunteers were significantly increased the frequency of defecated (p<0.001) when compared to before treatments. The stool consistency score after treatment showed no relationship with the human’s body elements (Tart Chao Reun), as of Thai traditional medicine. The obtained results indicated the consumption of triphala “vata” herbal formula could be substitute for senna extract in relieving constipation which showed health beneficial for normalizing defecation behavior and lower defecation time. การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม ปกปิดทั้งผู้เข้าร่วมโครงการและผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของมหาพิกัดตรีผลา ตำรับแก้วาตะสมุฏฐานที่มีอัตราส่วนสมอไทย 12 ส่วน มะขามป้อม 8 ส่วนและสมอพิเภก 4 ส่วน กับสารสกัดมะขามแขกเพื่อบรรเทาภาวะท้องผูก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคืออาสาสมัครที่มีภาวะท้องผูกในเขตตำบลเซิม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 201 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดตรีผลาขนาด 500 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ด ยาเม็ดสารสกัดตรีผลาขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ด และยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกที่มีปริมาณเซนโนไซด์ 7.5 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ดโดยรับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบตรวจประเมินอาสาสมัครที่มีภาวะท้องผูก แบบสอบถามอาสาสมัครก่อนการวิจัยและสมุดบันทึกการถ่ายอุจจาระประจำวัน ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครที่ได้รับยาเม็ดตรีผลา ยาเม็ดสารสกัดตรีผลาและยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกสามารถถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 79.7, 82.5 และ 88.5 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบทั้งสามกลุ่ม อาสาสมัครที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกมีจำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระมากที่สุดคือ 4 ครั้งต่อวัน ซึ่งมากกว่าอาสาสมัครที่รับประทานยาเม็ดตรีผลาและยาเม็ดสารสกัดตรีผลาที่มีจำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระมากที่สุดคือ 2 และ 3 ครั้งต่อวันตามลำดับ นอกจากนี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดยังทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น อุจจาระมีลักษณะเหลวกว่าเดิม ใช้แรงเบ่งลดลง ความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อภาพรวมของการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น อาการท้องอืดและเบื่ออาหารลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับประทาน อาสาสมัครทุกกลุ่มเริ่มถ่ายอุจจาระภายหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์ประมาณ 10 ชั่วโมงและส่วนใหญ่ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ ภายหลังหยุดรับประทานผลิตภัณฑ์ อาสาสมัครมีความถี่ของการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์ ส่วนลักษณะอุจจาระหลังรับประทานผลิตภัณฑ์ไม่มีความสัมพันธ์กับธาตุเจ้าเรือนตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ผลการศึกษาสรุปได้ว่ามหาพิกัดตรีผลาวาตะสมุฏฐานสามารถใช้บรรเทาภาวะท้องผูกทดแทนสารสกัดมะขามแขกได้ โดยมีข้อดีเหนือกว่าคือ พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเป็นปกติและจำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าสารสกัดมะขามแขก |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1336 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010781001.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.