Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1337
Title: Determination of Active Constituents, Anti-Inflammatory Activity and Development of Mixed-Thaowan-Priang Extract Creams
การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและการพัฒนาตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียง
Authors: Orapan Aryamuang
อรพรรณ   อาญาเมือง
Wanida Caichompoo
วนิดา ไทรชมภู
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: ยาผสมเถาวัลย์เปรียง
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ไนตริกออกไซด์
สาร compound D
The mixed-Thaowan-priang formula
anti-inflammatory activity
nitric oxide
compound D
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The mixed-Thaowan-priang formula, which consists of 4 medicinal plants including Derris scandens (Roxb.) Benth. Zingiber cassumunar Roxb. ,Suregada multiflora Baill. And Siphonodon celastrineus Griff. It has been traditionally used for relieving muscle pain. This medicinal herb formula is contraindicated such as stomach ache and be carefully used in patients with peptic ulcer. It is therefore interesting to develop the mixed-Thaowan-priang formula in a topical dosage form. This study aimed to determine the chemical markers, the anti-inflammatory activity, and development of the the mixed-Thaowan-priang extract creams. The mixed-Thaowan-priang formula was extracted with 50% and 95% ethanol using soxhlet extraction and which were analyzed by using HPLC. The anti-inflammatory activity of The mixed-Thaowan-priang formula was tested for its inhibitory effect against nitric oxide (NO) production in Raw 264.7 cells macrophage. The cytotoxic effect of the formula was determined by using the MTT assay. The mixed-Thaowan-priang extract cream was developed. The results showed that the amount of compound D in 95% ethanolic extract was obtained higher than those of 50% ethanolic extract 18.893±0.236 mg/g extract (1.889±0.02%). The 95% ethanolic extract of the mixed-Thaowan-priang formula exhibited a pronounced anti-inflammatory activity with the IC50 of 40.08 ± 2.78 µg/mL. The 95% ethanolic extract possessed a more potent anti-inflammatory activity than that of the 50% ethanolic extract and with no cytotoxicity. The result showed the development of the mixed-Thaowan-priang extract cream after evaluating the stability after fresh preparation at room temperature found that the formula had a creamy texture, smooth, creamy yellow, with good viscosity, did not separate with a pH value of 5.97±0.02 and 52696.67±15.28 cP. Then assess the stability after heating-cooling method, which that the formula is smooth but with a slightly darker yellow color with decrease viscosity, not cracking on the skin, had pH 5.62±0.02 and viscosity 50033.33±20.82 cP. Conclusions, the 95% ethanolic extract of the mixed-Thaowan-priang formula cream possessed a significant anti-inflammatory activity and no cytotoxicity in vivo but which is still required to investigate clinical study.
ยาผสมเถาวัลย์เปรียง ประกอบด้วยสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง เหง้าไพล แก่นดูกใส (ขันทองพยาบาท) และแก่นดูกหิน (มะดูก) เป็นยาใช้รับประทาน สรรพคุณเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาจพบอาการไม่พึงประสงค์คือ ปวดท้อง และควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้น จึงสนใจในการพัฒนาตำรับยาผสมเถาวัลย์เปรียงเป็นยาใช้ภายนอก การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารบ่งชี้ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และพัฒนาตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียง ตำรับยาผสมเถาวัลย์เปรียง (เถาวัลย์เปรียง : ไพล : ขันทองพยาบาท :มะดูก = 1 : 2 : 1 : 1) สารสกัดด้วย 50% และ 95% เอทานอลด้วยวิธีซอกห์เลต วิเคราะห์ปริมาณสาร compound D ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดด้วยวิธีการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ RAW 267.4 ที่ถูกเหนี่ยวนำโดย lipopolysaccharide (LPS) ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธี MTT และพัฒนาตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดด้วย 95% เอทานอล มีปริมาณสาร compound D เท่ากับ 18.893±0.236 mg/g สารสกัด (ร้อยละ 1.889±0.236) และสารสกัดด้วย 95% มีฤทธิ์ต้านการอักเสบดีกว่าสารสกัดด้วย 50% เอทานอล คือค่า IC50 เท่ากับ 40.08±2.78 µg/mL และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ผลการพัฒนาตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียง โดยประเมินความคงตัวหลังเตรียมตำรับครีมเสร็จทันทีที่อุณหภูมิห้องพบว่า ตำรับมีเนื้อครีมเนียนละเอียด สีเหลืองนวล มีความหนืดพอเหมาะ ไม่แยกชั้น กระจายบนผิวหนังได้ดี มีค่า pH 5.97±0.02 และค่าความหนืด 52696.67±15.28 cP จากนั้นทำการประเมินความคงตัว หลังจากผ่านกระบวนการ heating – cooling method แล้วพบว่าเนื้อครีมเนียนยังละเอียด แต่มีสีเหลืองเข้มขึ้นเล็กน้อย มีความหนืดลดลง ไม่แยกชั้น กระจายบนผิวหนังได้ดี มีค่า pH 5.62±0.02 และค่าความหนืด 50033.33±20.82 cP สรุป ตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียงจากสารสกัดด้วย 95% เอทานอลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และไม่มีพิษต่อเซลล์ในหลอดทดลอง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกต่อไป
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1337
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010781006.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.