Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1338
Title: Effects of Organic Fertilizer on Growth, Yield and Grain Quality of KDML 105 Rice Variety under Upper paddy and Lower paddy of Rainfed Rice Land
อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาดอน นาลุ่ม ของการทำนาในพื้นที่รับน้ำฝน
Authors: Yotsanon Sriwichan
ยศนนท์ ศรีวิจารย์
Kitti Srisa-ard
กิตติ ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Technology
Keywords: ปุ๋ยอินทรีย์
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
คุณภาพ
ข้าวขาวดอกมะลิ 105
Organic Fertilizer
Growth
Yield
Quality
KDML 105 Rice
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: KDML 105 rice growing area in the northeast farmers rely mostly on rainfed. The improvement of production efficiency of KDML 105 may be assisted by application of organic fertilizer. The objectives of this research were to study the influence of organic and inorganic fertilizer on growth, yield and grain quality on KDML105 in upper and lower paddies under rainfed. The experiment was done under the confinement of the Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 replications. The 7 treatments consist of: (1) control, (2) The recommendation of the Department of Rice, (3) cow manure rate 1,500 kg/ rai, (4) pig manure rate 500 kg/ rai, (5) pig manure rate 1,000 kg/ rai, (6) chicken manure rate 250 kg/ rai and (7) chicken manure rate 500 kg/ rai. The experiments were conducted from year 2014 to 2016 farmer farm, at Ban Nong Ruang, Tambon Ban Khor, Amphoe Mueang, Khon Kaen province and at the farms of Agricultural Technology major, Faculty of Technology, Mahasarakham University, Talat sub-district, capital district of Maha Sarakham Province.           The results showed that the use of organic fertilizer for 3 consecutive years, resulting in increasing nutrient contents of nitrogen, phosphorus, potassium, and soil organic matter. Application of cow manure at rate of 1,500 kg per rai consecutive 3 years (2014-2016) promoted the maximum growth of KDML 105, such as plant height, tilter member, above ground dry weight and root dry weight. And resulting to increase the yield components such as number of panides hill, per number of seeds per panicle And 1,000 seeds. The maximum yield of 425.50 kg per rai was obtained. For the grain quality of KDML 105, the use of organic fertilizer at different rates of the paddy seed color amylose starch content in seeds, stability of cooked flour and the decomposition of seeds in the alkali is Cow manure applied at the rate of 1,500 kg per rai improved grain quality of KDML 105 rice higher than that of the other types of organic fertilizers.
พื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรอาศัยน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ การจัดการดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงได้มีการศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาดอน นาลุ่ม ของการทำนาในพื้นที่รับน้ำฝน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ทำการทดลอง 4 ซ้ำ และมี 7 ทรีทเม้นท์ คือ (1) แปลงควบคุมไม่มีการใส่ปุ๋ย (Control), (2) คำแนะนำของกรมการข้าว, (3) ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่, (4) ปุ๋ยมูลสุกร อัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่, (5) ปุ๋ยมูลสุกร อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่, (6) ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่ และ (7) ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ ตั้งแต่ปี 2557 ถึง ปี 2559 โดยพื้นที่นาดอนทำการทดลองที่แปลงนาเกษตรกร บ้านโนนเรือง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และพื้นที่นาลุ่มทำการทดลองที่แปลงเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีการ เกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผลการทดลองทั้งพื้นที่นาดอน และพื้นที่นาลุ่มมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันโดยพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีปริมาณธาตุอาหารในดิน ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และมีอินทรียวัตถุในดินเพิ่มสูงขึ้น และการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ติดต่อกัน 3 ปี (2557-2559) ส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้านความสูง จำนวนหน่อต่อกอ น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินและน้ำหนักแห้งส่วนรากสูงสุด อีกทั้งยังมีผลต่อการเพิ่มองค์ประกอบของผลผลิตข้าวในด้านจำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 1,000 เมล็ดสูงสุด ทำให้ได้รับผลผลิตต่อไร่สูงถึง 422.50 กิโลกรัมต่อไร่ (นาดอน) และ 425.50 กิโลกรัมต่อไร่ (นาลุ่ม)  ในด้านคุณภาพของเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิดที่อัตราต่างกัน ทำให้คุณภาพของสีเมล็ดข้าวเปลือก ปริมาณแป้งอมิ โลสในเมล็ด ความคงตัวของแป้งสุก และการสลายของเมล็ดในด่าง มีความแตกต่างกัน ซึ่งการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีคุณภาพสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1338
Appears in Collections:The Faculty of Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010860001.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.