Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1348
Title: The Application Program of Self Care and Social Support in Teenage Pregnancy: Nikhom Kham Soi Hospital, Nikhom Kham Soi District, Mukdahan Province  
การประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร
Authors: Piyamaporn Laohateeranon
ปิยะมาพร เลาหตีรานนท์
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ตั้งครรภ์วัยรุ่น
การดูแลตนเอง
Teenage Pregnant
Self-Care
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Pregnancy among adolescents is likely to increase in Thai society. There is no clear system of care and service. The only group that should be taken care of is special. This quasi-experimental study the purpose of this study was to investigate the effect of self-care program application on social support theory as a guideline for the program of antenatal care service at Nikom Kham Soi Hospital. Tools used in the study include: Mather and child Health Notebook, Health Promotion Program Data were collected by questionnaire between June to August. The sample was selected by means of 11 specific methods. Data were collected both quantitatively and qualitatively. By the created query. Data were collected and analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and inferential statistics included nonparametric (Wilcoxon Signed Rank Test). The study indicated that The target group can join the process throughout the entire research process. The population had an average score of self-care behaviors before the experiment, at a moderate level. After the experiment The population has self-care behaviors. The overall average score is at a good level. By comparing the average score of self-care behaviors before and after the experiment in each aspect and overall, with a significant improvement. In conclusion, the factors of success in operation are: Participatory learning activities among pregnant women, family and husbands were studied by applying self-care programs. This results in easy learning and experience skills. Can be followed. Including home visits for environmental management that promote self-care. Self-Care for Teenage Pregnant.
การตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในสังคมไทย และยังไม่มีระบบการดูแลและให้บริการที่ชัดเจน ทั้งที่เป็นกลุ่มเฉพาะที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมมาเป็นแนวทางการจัดโปรแกรมการให้บริการที่แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลนิคมคำสร้อย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สมุดบันทึกสุขภาพมารดาทารก คู่มือส่งเสริมสุขภาพ แผนการสอน ภาพพลิก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง จำนวน 11 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ nonparametric (Wilcoxon Signed Rank Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าร่วมกระบวนตลอดการวิจัยทั้งหมด ประชากรมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังการทดลอง ประชากรมีพฤติกรรมการดูแลตนเองคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการทดลองในรายด้านและโดยภาพรวมมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และสามี โดยมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเอง ที่ส่งผลให้เกิดทักษะ การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติตามได้ รวมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลตนเอง เพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ยั่งยืน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1348
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011480004.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.