Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/137
Title: The Development of Sung Playing Instruction Handbook in Northern Thailand
การพัฒนาคู่มือ การเรียนการสอน การดีดซึง ในภาคเหนือ ของประเทศไทย 
Authors: Khanpetch Khumsat
ขรรค์เพชร  คำสัตย์
Khomgrit Karin
คมกริช การินทร์
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: การพัฒนาคู่มือ
การดีดซึง
ล้านนา
Development of handbook
Sung playing
Lanna
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is a qualitative one aiming to: 1) study the performance craft transmission of Sung (a northern Thailand four-stringed musical instrument) in the upper northern part of Thailand, and 2) develop an instruction handbook on Sung performance in the upper northern Thailand. The respondents to this research include 16 local wisdom teachers in the upper northern part of Thailand, two of which were selected from 8 provinces including Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Chiang Rai, Phayao, Phrae, Nan and Mae Hong Son. The findings of this research indicate the following: 1. The study of Sung performance craft transmission      1.1 Regarding the techniques for Sung performance craft transmission in the upper northern part of Thailand, a series of  46 songs is taught using a Sung Look Saam and a Sung Look See. The pedagogical preparation is seen to be the most important one emphasizing the traditional teacher worship ceremony or the disciple ceremony. Teaching practice starts with the basic principles of correct Thai note reading. Sung playing in the first song is given priority focusing on the learner correct practice. Techniques of Sung playing include Sabat, Rua, Mai Deet Diao, Mai Deet Khoo, Look Krathop, Non Tai Tao, and Root Saai Sung techniques. Lesson assessment is conducted all the way through the learning process by the instructors through the methods of observing and hearing in 2 major ways: the accuracy of the song, both the melody and the rhythm, and the melodious mood of the song being played on.      1.2 Regarding the problems of Sung performance craft transmission in the upper northern part of Thailand,  current undirected curriculum and teaching management of Lanna folk music makes it a non-united learning with scarce Lanna folk music instructional media. Sung performance is also hardly seen to virtually be taken as a stable career. Few local wisdom teachers of Sung are available. Common Sung playing by street beggars has brought about a negative image of Sung performance. In addition, most of current students are more influenced and more interested in western music than Lanna folk music. 2. The development of Sung instruction handbook The selection of 10 songs in an ascending order of complexity, most frequently chosen with techniques employed by the local wisdom teachers, bases the criterion for the Sung performance handbook. The handbook efficiency of 82.77/ 83.05 has been given justification by 16 local wisdom experts from the upper northern part of Thailand as the testimonials.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการถ่ายทอด การดีดซึง ในภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนาคู่มือประกอบการเรียนการสอน การดีดซึง ในภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย โดยบุคคลากรผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 8 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน จังหวัดละ 2 คน รวม 16 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือก ผลการวิจัย ดังนี้ 1. การศึกษาถ่ายทอดการดีดซึง      1.1 วิธีการเทคนิคในการถ่ายทอดการดีดซึง ในภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย พบว่า ลำดับบทเพลงในการถ่ายทอดการดีดซึงบทเพลงที่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการถ่ายทอดการดีดซึงมีบทเพลงทั้งหมด 46 เพลง ครูใช้ซึงลูกสามและลูกสี่ในการถ่ายทอด โดยเทคนิคการเตรียมการสอนผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด ควรมีพิธีไหว้ครูหรือพิธีฝากตัวเป็นศิษย์ การสอนควรปรับพื้นฐานในการอ่านโน้ตไทย การฝึกดีดซึงเพลงแรกมีความสำคัญมากต้องทำให้ผู้เรียนดีดเป็นอย่างถูกต้อง พบว่า เทคนิคการปฏิบัติดีดซึงประกอบด้วย  สะบัด, รัว, ไม้ดีดเดี่ยว, ไม้ดีดคู่, ลูกกระทบ, หนอนไต่เต้า,การรูดสายซึง ครูจะทำหน้าที่ประเมินผลตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำการสอน โดยใช้วิธีการสังเกตและการฟัง ใน 2 ด้าน ได้แก่ ความถูกต้องของบทเพลงทั้งด้านทำนองและจังหวะ และความไพเราะอารมณ์ของบทเพลง      1.2 ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอดการดีดซึง ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย พบว่าหลักสูตรและรูปแบบในการจัดการสอนดนตรีพื้นเมืองล้านนา ในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน, สื่อทางด้านการสอนดนตรีพื้นเมืองล้านนาในปัจจุบันยังมีน้อย, ไม่สามารถที่จะนำไปประกอบอาชีพที่มั่นคงได้,ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมีน้อย, การนำซึงไปดีดขอทานทำให้ดูไม่ดี และเด็กนักเรียนในปัจจุบันส่วนมากได้รับอิทธิพลจากดนตรีสากลให้ความสนใจกับดนตรีสากลมากกว่าดนตรีพื้นเมืองล้านนา 2. การพัฒนาคู่มือประกอบการเรียนการสอน การดีดซึง โดยเลือกเพลงที่มีความถี่ที่ครูเลือกใช้ในการถ่ายทอดมากที่สุดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก 10 เพลง โดยใช้เทคนิคตามครูภูมิปัญญา ประสิทธิภาพของคู่มือคู่มือได้รับคำรับรองจาก ผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองล้านนาด้านการดีดซึง ในเขตภาคเหนือตอนบน 16 คน และมีประสิทธิภาพ 82.77 / 83.05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/137
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56012060001.pdf10.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.