Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1372
Title: An Analysis of Medicinal Plants Formulas used to treat skin disorders recorded in Palm Leaf Manuscripts of Sakon Nakhon Province
การวิเคราะห์ตำรับยารักษาโรคผิวหนังในเอกสารใบลานของจังหวัดสกลนคร
Authors: Chinnaphat Chaleomram
ชินพัฒน์ เฉลิมรัมย์
Sutthira Sedlak
สุทธิรา เซดลัค
Mahasarakham University. Walai Rukhavej Botanical Research Institute
Keywords: ตำรับยาสมุนไพร, พืชสมุนไพร, โรคผิวหนัง, เอกสารใบลาน, จังหวัดสกลนคร
Medicinal Plant Formulas Medicinal Plants Skin disorders Palm Leaf Manuscripts Sakon Nakhon Province
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of thesis are to analysis of medicinal plants formulas used to treat skin disorders recorded in Palm Leaf Manuscripts of Sakon Nakhon Province done by collecting, examining and analyzing the data regarding the use of medicinal plant formulas to treat skin disorders. The experiment was conducted by collecting from the Palm Leaf Manuscripts of Sakon Nakhon Province, which has been translated in 33 copies, together with the use of semi-structured interviews and focus group discussion form with key informants. The results showed that two groups of skin disorders were abnormalities of the skin and tissue group and exanthematous fever group. The total of 22 diseases, along with the 415 formulas used to treat these illnesses were collected and classified. The most frequently mentioned uses were the treatment of dermatitis (63 formulas). According to the study, 454 medical materials were found, including animals (48 species), minerals (17 types) as well as 389 medicinal plants (385 plants and 4 mushrooms species) and can be identification 361 species of plant. The most represented family was Fabaceae (43 species). The highest frequency ratio (FR) was calculated for Oryza sativa L. (FR=9.25). The highest Formulas consensus ratio (FCR) was calculated for Scarlet fever (FCR=1.70). The root was the most frequently used parts in drug preparation (50.12%) and medicinal plants mostly have bitter flavor (31.44%). The aqueous adjuvant was mostly rainwater. Most of the medications were prepared as rubbing on stone (48.30%) and preparations are mostly administered orally (57.18%). A review of the research found that the medicinal plants used in the formulation have the mechanism of action consistent with the drugs used to treat dermatitis of modern medicine, including anti-inflammatory, analgesic, antiallergic, wound healing, immunomodulating and antioxidative. Which are relevant to treatment of the skin disorders.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตำรับยารักษาโรคผิวหนัง ในเอกสารใบลานของจังหวัดสกลนคร โดยการรวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสารใบลานของจังหวัดสกลนครที่ผ่านการปริวรรตกรรม จำนวน 33 ผูก ร่วมกับการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนาในผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการศึกษาสามารถจำแนกกลุ่มโรคได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความผิดปกติของผิวหนังและเนื้อเยื่อ และกลุ่มไข้ออกผื่น รวม 22 โรค รวบรวบตำรับยาได้ทั้งสิ้น 415 ตำรับ โรคที่รวบรวมตำรับยาได้มากที่สุดคือ ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) จำนวน 63 ตำรับ รวบรวมเภสัชวัตถุได้ทั้งสิ้น 454 ชนิด แบ่งเป็น พืชวัตถุ 389 ชนิด (พืช 385 ชนิดและเห็ด 4 ชนิด) สัตว์วัตถุ 48 ชนิด และธาตุวัตถุ 17 ชนิด พืชวัตถุสามารถระบุชนิดได้ 361 ชนิด รวมพืชทั้งสิ้น 96 วงศ์ โดยวงศ์ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 43 ชนิด ชนิดพืชที่มีค่าความถี่ในการใช้ (Frequency Ratio; FR) สูงสุด คือ ข้าว (Oryza sativa L.) (FR=9.25) กลุ่มโรคที่มีค่าความสอดคล้องของตำรับยา (Formulas Consensus Ratio; FCR) สูงสุด คือ ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) (FCR=1.70) ส่วนของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้มากที่สุด คือ ราก (50.12%) โดยรสขมเป็นรสยาของพืชสมุนไพรที่มีการใช้มากที่สุด (31.44%) น้ำกระสายยาที่มีการใช้มากที่สุด คือ น้ำฝน วิธีการเตรียมยาที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การฝนด้วยหิน (48.30%) และการกินเป็นวิธีการใช้ยาที่พบมากที่สุด (57.18%) จากการทบทวนเอกสารพบว่าพืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบตำรับยามีฤทธิ์ทางเภสัช วิทยาและมีกลไกลการออกฤทธิ์ที่สอดคล้องกับยาที่ใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบของแพทย์แผนปัจจุบัน คือ ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ต้านการแพ้ สมานแผล ปรับภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องต่อการรักษาโรคผิวหนัง
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1372
Appears in Collections:Walai Rukhavej Botanical Research Institute

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60016680002.pdf15.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.