Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1374
Title: The Cultural Invention of Thai Royal Cuisine in Creative Economy
การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมอาหารชาววังในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Authors: Supawat Namkham
ศุภวัฒน์ นามคำ
Sisikka Wannajun
ซิสิกกา วรรณจันทร์
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: อาหารชาววัง
การประดิษฐ์สร้าง
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
Thai Royal Cuisine
Invention
Creative Economy
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to study the history and changes of period. To analyze the layout of the palace food culture has become a cultural capital. The researcher studied the cultural invention of Thai royal cuisine in creative economy. Based on information related the area, three case studies are the invention of these. The invention was created outside of the original culture by successors to tokens. And the invention was built outside the original culture by his successor vassal as successor. Data were collected in selected case study areas such as Chakrabongse Villas, Kalapapruek Restaurant, Than Ying Restaurant, Choomsai Kitchen Restaurant, Krua Chao Wang Baan M.L. Neung Restaurant, Poj Spa Kar Restaurant and Lai Rot Restaurant.    According to studies, it has been found that the cultural invention of Thai royal cuisine in the area. Maintaining cultural style of the traditional cultural capital, including ingredients for cooking. The ingredients used are diverse and fresh. How to cook by heat process. And food containers are varied according to the type of food served. And use the tile as the main. Types of food, Types of service, Consumer and Environment are different the commercial of the entrepreneur. The cultural invention of Thai royal cuisine has relieved some features. To be consistent with the changing economic and social conditions. The Thai royal cuisine which served to serve the monarchy as a traditional value. Thai royal cuisine that is used to represent the memory that makes people think that the product and services are special features that are different from the general. However, in some cases it may cause a random risk to the values ​​and identity of the Thai royal cuisine.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารชาววัง เพื่อวิเคราะห์เค้าโครงของวัฒนธรรมอาหารชาววังที่ได้กลายมาเป็นทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้วิจัยใช้ศึกษาการประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมอาหารชาววังในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากพื้นที่กรณีศึกษา 3 กลุ่ม คือ การประดิษฐ์สร้างในแหล่งวัฒนธรรมเดิม การประดิษฐ์สร้างนอกแหล่งวัฒนธรรมเดิมโดยมีทายาทราชสกุลเป็นผู้สืบทอด และการประดิษฐ์สร้างนอกแหล่งวัฒนธรรมเดิมโดยมีทายาทข้าราชบริพารเป็นผู้สืบทอด โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่กรณีศึกษาด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ จักรพงษ์วิลล่า ร้านอาหารกัลปพฤกษ์ ร้านอาหารท่านหญิง ร้านอาหารครัวชุมสาย ร้านอาหารไทยครัวชาววัง บ้าน ม.ล. เนื่อง ร้านโภชน์สภาคาร และร้านอาหารหลายรส  จากการศึกษาพบว่า การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมอาหารชาววังของพื้นที่กรณีศึกษามีลักษณะร่วมกัน โดยดำรงรักษาทุนทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ วัตถุดิบในการปรุงอาหาร ที่ได้ใช้วัตถุดิบอาหารที่มีความหลากหลายและเน้นความสดใหม่ วิธีการปรุงอาหาร ด้วยวิธีการที่ใช้ความร้อนในการปรุงอาหารเป็นหลัก และภาชนะบรรจุอาหารที่มีรูปแบบหลากหลายตามประเภทของอาหารที่ให้บริการ และใช้ภาชนะจำพวกเครื่องกระเบื้องเป็นหลัก ส่วนประเภทของอาหาร รูปแบบการบริการ ผู้รับบริการ และการสร้างบรรยากาศ มีความแตกต่างกันในเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการ การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมอาหารชาววังทำให้เกิดการผ่อนปรนคุณลักษณะบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาหารชาววังมีหน้าที่ถวายการรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นคุณค่าดั้งเดิม จึงถูกใช้แทนภาพจำเพื่อให้คนรู้สึกนึกคิดว่าสินค้าและบริการนั้นมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากทั่วไป อย่างไรก็ดี ในบางกรณีอาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อคุณค่าและอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารชาววังได้ 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1374
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012160016.pdf23.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.