Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1378
Title: Dramatic Art : The Identity of Phuthai Renunakorn Ethnic in The Cultural Society of Thai State
นาฏยศิลป์ : อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภูไทเรณูนคร ในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย
Authors: Naruebodin Saleepun
นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์
Supachai Singyabuth
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: อัตลักษณ์ชาติพันธุ์
วัฒนธรรมคือความหมาย
นาฏยศิลป์ภูไทเรณูนคร
Ethnic Identity
Culture as Meaning
Phu Tai Renu Nakhon Dance
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) analytical study the history of Renu Nakhon ethnic identity in the Renu Nakhon community, Renu Nakhon district, Nakhon Phanom province 2) analytical study the dance that has been considerably occurred in the context of Renu Nakhon district, Nakhon Phanom province 3) analytical study the growth of dance in social culture context and correlation with local community and Thai nation state. The analytical study was made by data analysis and research presentation was introduced by descriptive analysis. The research was employed and involved with the concepts of identity and culture as public meaning. The results of research found out that 1) among the areas of Phu Tai Renu Nakhon ethnic group, immigrants had moved from the left bank of the river to the right bank of the river which was considered as the first ethnic group that immigrated to Thailand. The first settlers came to Thailand concerned with a disagreement and argument of the family. They were then settled their community in Dong Wai Sai Bok Gae community or known as Renu Nakhon at the present time. After that, different groups of Phu Tai people migrated into the area and have approached this community to look for any of those who seek the same blood as Phu Tai in Thailand. Later, Phu Tai Renu Nakhon people have interacted with a group of Kula or Thai Yai who were migrated from the trade. 2) Phu Tai Renu Nakhon people have a relationship with art and culture particularly the dance that has involved with way of life such as dance for medical treatment and dance for rocket festival relating to agriculture and farming system. Significantly, there was a traditional dance form in accordance to his majesty King Bhumibhol and Queen Sirikit command on 13 November 1955. As the King and Queen had a royal visit to Wat Phra That Phanom Woramahawihan, Nakhon Phanom Province, The King and Queen invited all ethnic groups in Nakhon Phanom Province and the nearest area to do dance performances in front of the in front of the throne. In addition, Phu Tai Renu Nakhon community has considerable significantly developed the Phu Tai dance and other dance performances. As such, there have been increasingly a number of dances from the past to present in order to serve its society. 3) Phu Tai Renu Nakhon community has been preserving its uniqueness and identity of dance performances. From the point of preserving dance uniqueness and identity of Phu Tai Renu Nakhon ethnic group, as a result, the education system has introduced the dance of Phu Tai Renu Nakhonfrom its basic level to higher education. This community has been honored to represent the province up to the motto of the province. As a result, Thailand is a nation-state, which is disseminating the dance of Phu Tai Renu Nakhon to international stage. It has been made the community aiming at the importance of conservation and development of dance continuously and sustainably. In summary, this research has demonstrated to present the identity of the community that has have valuable meaning in dance culture. It has been presenting its identity of folk dance in social culture of Thai nation state. The suggestions of this research can be applied to the way of understanding community which has been gradually changed its identity in the different cultural context and condition including with dance education both domestic and international recognition. 
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ภูไทในพื้นที่ชุมชนเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (2) ศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์นาฏยศิลป์ที่เกิดขึ้นในบริบทวัฒนธรรมภูไทเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (3) ศึกษาวิเคราะห์นาฏยศิลป์ภูไทเรณูนครในบริบทสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นและรัฐชาติไทย การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนองานวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Descriptive) นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้แนวคิดในการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ แนวคิดอัตลักษณ์ (Cultural Identity) และแนวคิดวัฒนธรรมคือความหมาย (Culture as Public Meaning) ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มคนในพื้นที่ชาวภูไทเรณูนครอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นคนกลุ่มชาวภูไทกลุ่มแรกในพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงหรือประเทศไทยซึ่งโดยการอพยพมาครั้งแรกนั้นเป็นการขัดแย้งระหว่างพี่น้องแล้วมาตั้งรกรากที่ชุมชนบ้านดงหวายสายบอกแกหรือเรณูนครในปัจจุบัน หลังจากนั้นกลุ่มต่างๆ ของชาวภูไทได้เข้าอพยพมาในพื้นที่ประเทศไทยและมีการเข้าหาชุมชนแห่งนี้เพื่อหาตามหาข่าวสารของกลุ่มชนที่ตามหาในความเป็นภูไทสายเลือดเดียวกันในแผ่นดินไทย ต่อมาชาวชุมชนภูไทเรณูนครได้มีการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มของชาวกุลาหรือชาวไทยใหญ่ที่อพยพมาจากการค้าขาย 2) ชาวภูไทเรณูนครมีความผูกพันกับ ศิลปะวัฒนธรรมโดยเฉพาะนาฏศิลป์ซึ่งมีการเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตอย่างเช่นการเหย้า (การรักษาคนไข้) และการฟ้อนรำในบุญบั้งไฟในเดือนหก ซึ่งมีความผูกพันกันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในระบบเกษตรกรรม ต่อมาได้มีการแสดงชุดฟ้อนที่เป็นแบบแผนขึ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในรัชกาลที่ 9 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 13 พฤศจิกา พ.ศ. 2498 ได้เสด็จมาบำเพ็ญราชกุศลในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนมได้เชิญชวนชนเผ่าต่างๆในกลุ่มจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียงให้มาทำการแสดงหน้าพระที่นั่ง ต่อมาชุมชนชาวภูไทเรณูนครได้พัฒนาการฟ้อนภูไทและการแสดงนาฏยศิลป์ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนชุดการแสดงของชุมชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 3) ในชุมชนนี้ยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมเอาไว้อย่างดีเยี่ยม จากการดำรงค์รักษาทางด้านนาฏศิลป์ของเอกลักษณ์วัฒนธรรมจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ภูไทเรณูนคร ส่งผลต่อระบบการศึกษาได้บรรจุนาฏยศิลป์ภูไทเรณูนคร ในระดับขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ชุมชนแห่งนี้ยังได้รับการยกย่องเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนมขึ้นสู่คำขวัญประจำจังหวัด ส่งผลให้เป็นตัวแทนรัฐชาติไทยซึ่งมีการเผยแพร่นาฏยศิลป์ภูไทเรณูนครในเวทีระดับนานาชาติ ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ของตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสรุปการวิจัยเรื่องนี้ได้แสดงถึง อัตลักษณ์ของชุมชนที่มีความหมายเชิงคุณค่าในด้านวัฒนธรรมทางด้านนาฏยศิลป์ ที่นำเสนอความเป็นตัวตนของนาฏยศิลป์พื้นเมืองในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย ซื่งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจชุมชนที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบของการสร้างอัตลักษณ์ทางนาฏยศิลป์ในวัฒนธรรมเชิงบริบทต่างๆและวัฒนธรรมที่มีความหมายรวมทั้งชุมชนที่มีมิติทางการศึกษานาฏยศิลป์ ทั้งในและนอกประเทศต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1378
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661009.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.