Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1381
Title: Development of the Lamphun Digital Cultural Heritage Archive to Promote the Creative Economy
การพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Authors: Nadthanon Chirakitnimit
ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิตร
Sastra Laoakka
ศาสตรา เหล่าอรรคะ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: คลังข้อมูลดิจิทัล
มรดกทางวัฒนธรรม
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
Digital Archives
Cultural Heritage
Creative Economy
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aim of this research was to study Lamphun digital cultural heritage archive, current conditions and problems of Lamphun digital cultural heritage archive to promote the creative economy, development of the Lamphun digital cultural heritage archive to promote the creative economy. The Sampling groups were purposive selection people such as key informants. Tools were survey's form, interview guide, observation, focus group discussion and workshop seminar. Data analyzed by content analysis.   The results were as follows: Lamphun digital cultural heritage archive found that, most of archive are in the museum style, operated by the public, private, temple, school or community. The collection of archives are traditions, art, culture, history, way of life, local wisdom and ethnic. Almost all archives are not digitally stored. There are only some places that created and offered via the website.   Conditions and problems of Lamphun digital cultural heritage archive to promote the creative economy, it found that most of archive have various knowledge content that displayed by story, text, image, video, 360 Image, but still lacking operations the promotion of creative economy. Development of the Lamphun digital cultural heritage archive to promote the creative economy can accessed by responsive website that can respond to work on many devices.   The developed data archive is a prototype and consists of 2 parts, part 1, various knowledge in interesting digital by creating the video and 360-degree virtual reality for stimulate to learning, interest and follow up. This data consists of 4 categories, which are traditions, arts, culture, ancient sites, antiques and local wisdom. Including academic information, 360 ° digital archive or virtual museum, innovation and new products and various assistance services. Part 2 is information about the ways to promote the creative economy by using cultural heritage as knowledge base for development. It is a development and promotion process, there are channels for managing, updating, editing various information or content called the back-office system, so that those people can operate more conveniently. The evaluation found that overall, it was appropriate at a high level.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูน และการพัฒนาให้เป็นคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนี้ การเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ใช้การศึกษาสารสนเทศจากเอกสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ตามแบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วจึงนำสภาพและปัญหามาศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนให้เป็นคลังข้อมูลดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการศึกษาสารสนเทศจากเอกสาร และการจัดสัมมนาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ด้านเนื้อหามี 4 หมวดหมู่ ได้แก่ ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านพื้นที่มี 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอบ้านธิ อำเภอป่าซาง อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ ด้านเวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ เดือนธันวาคม 2562 ถึง มิถุนายน 2563   กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ได้แก่ ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา การจัดแสดง หรือการใช้ประโยชน์ข้อมูล จำนวน 44 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนให้เป็นคลังข้อมูลดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ผู้มีองค์ความรู้ในการพัฒนาข้อมูลให้เป็นรูปแบบดิจิทัลที่มีมาตรฐานในระดับคลังข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม จำนวน 15 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ดังนี้  ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนที่พบในพื้นที่วิจัย เก็บรวบรวมจากพิพิธภัณฑ์ วัด โรงเรียน หรือชุมชน จำนวน 30 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลประเภทภาพถ่ายในอดีตและในปัจจุบันที่บันทึกโดยบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวัฒนธรรมและบุคคลทั่วไป เกือบทั้งหมดของภาพถ่ายที่พบ เป็นการถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น มีเป็นส่วนน้อยที่นำข้อมูลภาพถ่ายและวิดีทัศน์รูปแบบดิจิทัลแสดงผ่านเว็บไซด์ของส่วนราชการ คือ เว็บไซด์ของสำนักงานจังหวัดลำพูน และของกระทรวงวัฒนธรรม และมีน้อยมากที่ดำเนินการเองในด้านฐานข้อมูลของเว็บไซด์ ข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละแห่งมีความคลาดเคลื่อนและไม่ครบถ้วน จึงไม่อาจเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวที่สมบูรณ์ได้ ผู้รับผิดชอบดำเนินการในแต่ละแห่งมีแนวทางดำเนินการตามแนวคิดและตามข้อจำกัดด้านงบประมาณของแต่ละแห่ง ที่มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนให้เป็นรูปแบบดิจิทัลและเผยแพร่ทางเว็บไซต์ซึ่งมีการดำเนินการในบางแห่ง พบว่า มีการพัฒนาไม่มากพอที่จะสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่ บุคคล รวมถึงสินค้าและบริการ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการเชื่อมโยงข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเกิดจากการที่ไม่มีข้อมูล หรือข้อมูลไม่เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการ หรือการเชื่อมโยงบกพร่อง หรือเกิดความผิดพลาดของระบบฐานข้อมูล หรือผู้ดูแลระบบขาดการบริหารจัดการที่ดี   การพัฒนาข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนให้เป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดำเนินการตามแนวทางที่สังเคราะห์ได้จากองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลรูปแบบดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ เป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ให้กับพื้นที่ บุคคล รวมถึงสินค้าและบริการ การวิจัยนี้ ได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาข้อมูลด้านเนื้อหา ภาษา เสียง ภาพ ภาพ 360 องศา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิดีทัศน์ แล้วจึงนำข้อมูลรูปแบบดิจิทัลมาออกแบบและจัดทำเป็นระบบคลังข้อมูลที่มีคุณลักษณะ ดังนี้ เป็นระบบฐานข้อมูล มีระบบคัดกรองการนำเข้า รองรับการใช้ข้อมูลหลากหลายระบบและหลากหลายอุปกรณ์ และมีระบบหลังบ้าน (Back Office) ที่สามารถควบคุมการทำงาน การใช้งาน และรองรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคลังข้อมูลของผู้ใช้งาน (End User)   ผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาต้นแบบ (Prototype) คลังข้อมูลดิจิทัล ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) ทั้งที่เป็นนักวิจัย อาจารย์ และนักวิชาการ ใช้ในการพัฒนาและบันทึกข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้อง น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และคุณค่าของวัฒนธรรมตนเอง ส่งเสริมกระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับ พื้นที่ บุคคล รวมถึง สินค้าและบริการ และที่สำคัญ คือ สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องด้วยการที่มีช่องทางในการรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคลังข้อมูลจากภาคประชาชน ชุมชน และสังคม จึงเป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (Strategies) การพัฒนาจังหวัดลำพูน ให้เป็นเมืองหัตถ นวัตกรรม สร้างสรรค์ (Creative Craft Innopolis) และให้เป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์วัฒนธรรม (Cultural Experience Destination) ในพันธกิจ (Missions) การส่งเสริม ยกระดับ และพัฒนาหัตถกรรม ด้วยนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ การสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว บนฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ยกระดับสรรถนะของบุคลากร บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1381
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60012160011.pdf10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.