Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1388
Title: | Khao Phanom Rung Festival : Ritual space and a reflection of Buriram's identity ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง : พื้นที่พิธีกรรมและการสะท้อนอัตลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์ |
Authors: | Chanapon Phinsu ชนะพล ผินสู่ Pattamawadee Chansuwan ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Keywords: | ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง พื้นที่พิธีกรรม อัตลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์ Khoa Phanom Rung tradition ritual area Buriram identity |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed to study 1) the history and traditions of Khao Phanom Rung festival, 2) identity and ritual space of the religious at Khao Phanom Rung, and 3) cultural identity building through the Khao Phanom Rung festival. This study was qualitative research collecting data from documents, researches and field data by using in-depth interviews from the purposive sample groups which are 4 knowledgeable people, 4 practitioners, and 20 general people. The research instruments are observation, non-participant observation, structured interview, and unstructured interview. The results were presented by using descriptive analysis.
The findings revealed that the history of Khao Phanom Rung festival is to worship the sacred things on Khao Phanom Rung. Originally, the religious rituals were just making merit and paying to the Buddha’s footprint model in the past. Later on, Buriram in collaboration with the Fine Arts Department and the Tourism Authority of Thailand has held and developed Khao Phanom Rung festival from the local traditions of the villagers to the grandiose traditions of the state and come along with historical stories that blended with imagination harmoniously, and that allows people to admire the beauty of the Khao Phanom Rung and visit the traditional. Identity and ritual space of the religious at Khao Phanom Rung and religious ritual areas at Khao Phanom Rung, it was found that ritual performing consists of the sacred worship of Phanom Rung Sanctuary, the worship of an eight petalled-lotus motif, and the worship of San Chao Pho Prasat Thong, which is held in the annual festival at Khao Phanom Rung to inform the sacred things according to traditional belief and to worship the gods and the place for the well-being of life. Creating cultural identity through the Khao Phanom Rung festival, it was found that Khao Phanom Rung festival was created from the traditional one and the new one. The presentation on the tradition of Khao Phanom Rung festival has a unique identity that has many connections to Buriram by bringing cultural identities such as the performance of Buriram Apsara Dance, the wearing a red sarong (Phasin Teen Deang) which use to dress up in Apsara beautifully and it also makes a good income for the local area. Moreover, there is a phenomenon of sun shine passing through 15 doorways that can be considered as a miracle that obviously creates the identity of Buriram.
The results of the research were found that building faith and the power of belief in the ritual space caused a tradition that has been doing continuously, built the reliability and sanctity of traditions for people, and created an identity connected with the community by selecting tourism as a space of identity until there was a phenomenon of creating identity to support tourism that caused a bond with more people in the community as a tourist destination and source of income. The results of the research revealed how cultural identity is created from the community, society and traditions that are beneficial to management ecotourism, the construction of the economy, supporting local people, and support sustainable tourism. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง 2) อัตลักษณ์และพื้นที่พิธีกรรมทางศาสนาที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง 3) การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้รู้จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 4 คน กลุ่มประชาชนทั่วไปจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง คือการขึ้นไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง ในอดีตนั้นเป็นเพียงการทำบุญ บูชารอยพระพุทธบาท ต่อมาจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม และพัฒนาประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจากประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านสู่ประเพณีของรัฐให้มีความยิ่งใหญ่อลังการ โดยมีการนำเอาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ผสมผสานกับจินตนาการสอดแทรกเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนทำให้ผู้คนได้ชมความงดงามของตัวปราสาทพนมรุ้ง และได้เที่ยวงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ได้อย่างครบทุกองค์ประกอบ อัตลักษณ์และพื้นที่พิธีกรรมทางศาสนาที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง พบว่า ในการประกอบพิธีพื้นที่พิธีกรรมบริเวณของปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งประกอบไปด้วย พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของปราสาทพนมรุ้ง พิธีบวงสรวงบัวแปดกลีบ และพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปราสาททอง ซึ่งจัดให้มีขึ้นในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งทุกปี และถือว่าพิธีบวงสรวงเป็นการบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการจัดงานตามประเพณีโบราณที่เคยปฏิบัติ และเพื่อบูชาเทพเจ้าผู้ดูแลสถานที่แห่งนั้น และเพื่อให้เกิดความผาสุกของชีวิต การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง พบว่า มีการประกอบสร้างขึ้น โดยมีทั้งแบบเก่า และแบบพัฒนาขึ้นใหม่ รูปแบบการนำเสนอมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนำเอาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ การแสดงเรือมอัปสราบุรีรัมย์ การนำเอาผ้าซิ่นตีนแดงซึ่งเป็นผ้าในท้องถิ่น มาแต่งกายในขบวนนางอัปสราได้อย่างสวยงาม ที่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ ให้กับท้องถิ่นได้อย่างดี นอกจากนั้นยังมีปรากฏการณ์พระอาทิตย์ส่องผ่าน 15 ช่องประตู ที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ที่สร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ได้อย่างชัดเจน สรุปผลการวิจัยพบว่า การสร้างความศรัทธา และพลังความเชื่อในพื้นที่พิธีกรรมทำให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบมา เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและความศักดิ์สิทธิ์ของงานประเพณีให้สาธารณชนได้รับรู้ร่วมกัน และเป็นการสร้างอัตลักษณ์ที่มั่นคงเชื่อมโยงระบบสังคมในชุมชน โดยการเลือกใช้การท่องเที่ยวเป็นพื้นที่แสดงตัวตน จนเกิดปรากฏการณ์ประดิษฐ์สร้างอัตลักษณ์รองรับการท่องเที่ยว ส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้ได้สร้างความผูกพันต่อผู้คนในชุมชนมากขึ้น ด้วยการเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งรายได้ ผลของการวิจัยจะทำให้เห็นถึงวิธีการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากชุมชน สังคม และประเพณี ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนเกิดเป็นผลดีในด้านการสร้างเศรษฐกิจ การส่งเสริมคนในท้องถิ่น และสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1388 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61012151004.pdf | 27.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.