Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorRonnayoot Nilakhoten
dc.contributorรณยุทธ นิลโคตรth
dc.contributor.advisorTharinthorn Namwanen
dc.contributor.advisorธรินธร นามวรรณth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-11-18T13:22:26Z-
dc.date.available2021-11-18T13:22:26Z-
dc.date.issued3/11/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1410-
dc.descriptionDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThe research objectives were to 1) study the components and indicators of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast 2) to investigate existing situation and desirable situation of  flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast 3) to develop program to enhance flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast, and 4) to study the results of implementing the developed program to enhance flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast. This research and development study employed 4 phases. The first phase was the study of the components and indicators of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals, 8 experts verified and confirmed the results by using purposive sampling and confirmatory factor analysis (CFA). The sampling group were 260 school principals and teachers under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast collected by multi-stage random sampling. The second phase was the study of the existing situation and desirable situation of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals. The sampling group were 540 school principals and teachers under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast collected by multi-stage random sampling. The third phase was the development of the program to enhance flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals evaluated from 8 experts using purposive sampling and discussion meeting by Multi Attribute Consensus Reaching (MACR), data collecting tool was questionnaire. And the fourth phase was the study of the results of the implementation of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals, the sampling group were 18 principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast by using purposive sampling. Analyzing statistics were Content Validity Index (CVI), percentage, mean, standard deviation, Pearson Correlations coefficient, Cronbach’s Alpha Coefficient and Priority Needs Index (PNImodified) The results were as follows: 1. The flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast consists of 5 components and 26 indicators. The weight of the indicators as whole are between 0.83 – 0.97 with statistical significance of .05 by arranging the priority of indicators from the most to the least as follows: Creative conflict management skills and Roles and responsibilities Adaptative skills (0.97), Working flexibility skills (0.95), Cultural differences adaptive skills (0.87) and Changing adaptive skills (0.83). This model is according to empirical data which was considered from Goodness of Fit Index (GFI) as follows: Chi2 = 214.86, df = 225, Relative Chi2 = 0.95, P-value = 0.67, RMSEA = 0.00, GFI = 0.94, AGFI = 0.91, RMR = 0.01. 2. The present condition of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast as a whole is at high level. The desirable condition is at the highest level.   3. The program for enhancing flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast consists of Principles and Reasons, Purposes, Content scopes, Development method, Media and Measurement and Evaluation. The results for the assessment of suitability possibility and usefulness were at the highest level in every aspects. 4. The implementation results of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast, it is found that the level after development of flexibility skills and adaptive skills in 21st century of school principals under the office of Secondary Education Service Area Office in the Northeast is higher than before development with statistical significance of .05  and all components average score are higher than previous one. The participants express the highest of satisfaction on flexibility skills and adaptive skills in 21st century enhancement program with an average 4.62 and and a standard deviation of 0.74.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) เพื่อศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปใช้ การดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา  โดยการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 260 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  (Multi-stage random sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 540 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  (Multi-stage random sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณ์เพื่อหาฉันทามติด้วยเทคนิค MACR (Multi Attribute Consensus Reaching) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน ระยะที่ 4 การนำโปรแกรมเสริมสร้างทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาไปใช้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของโปรแกรมเสริมสร้างของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 26 ตัวบ่งชี้โดยมีน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.83-0.97 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ทุกค่า  โดยเรียงน้ำหนักความสำคัญจากมากไปน้อย  ได้แก่  ทักษะการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และทักษะการปรับตัวเข้ากับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ (0.97)  ทักษะการยืดหยุ่นในการทำงาน (0.95)  ทักษะการปรับตัวเข้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรม (0.87) และทักษะการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง (0.83) ซึ่งโมเดลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน  คือ  Chi2 = 214.86,  df = 225,  Relative Chi2 = 0.95,  P-value = 0.67,  RMSEA = 0.00,  GFI = 0.94,  AGFI = 0.91,  RMR = 0.01 2.    สภาพปัจจุบันของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก  สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.    โปรแกรมเสริมสร้างทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ความมุ่งหมาย โครงสร้างขอบข่ายเนื้อหา วิธีการพัฒนา สื่อ และการวัดและการประเมิน  ซึ่งมีผลการประเมินด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็ประโยชน์ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน   4.    ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างของทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปใช้ พบว่า ทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อนการพัฒนา ก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกองค์ประกอบ และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมเสริมสร้างทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการพัฒนาโปรแกรมth
dc.subjectทักษะความยืดหยุ่นth
dc.subjectทักษะการปรับตัวth
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาth
dc.subjectDeveloping a programen
dc.subjectFlexibility skillsen
dc.subjectAdaptive skillsen
dc.subjectSchool Principalsen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleThe development of program enhancing flexibility and adaptation skills in 21st century of the school directors in the northeastern secondary schoolsen
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010562007.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.